พอร์ท:โปรแกรมเขียนแบบรูปตัด (XSection Plot) มาใช้บนแมคโอเอส

โปรแกรมเขียนแบบรูปตัด (XSection Plot) นับว่าเป็นโปรแกรมลำดับที่สามที่ผมพอร์ทมาใช้บนแมคโอเอส ถัดจาก Traverse Pro และ Surveyor Pocket Tools ติดตามบทความเดิมได้ด้านล่าง XSection Plot พัฒนาด้วยภาษาไพทอน (Python) กราฟฟิคติดต่อผู้ใช้ใช้ PySide2 (Qt for…

Continue Reading →

ย้อนรอยเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน

ผมได้เสนอบทความไปหลายตอนเรื่องเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ ทั้งความเป็นมา ประโยชน์ ตลอดจนการคำนวณสร้างเส้นโครงแผนที่ มาดูตัวอย่างการใช้งานจริงๆในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ว่าทางผู้ออกแบบได้มีการวางแผนสร้างเส้นโครงแผนที่นี้อย่างไร นำมาใช้อย่างไรบ้าง ก็ขออนุญาตนำเอกสารบางส่วนในโครงการนี้มาเผยแพร่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบพิกัดเส้นโครงแผนที่เท่านั้น โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (กรุงเทพฯ – นครราชสีมา) ระบบพิกัดแผนที่ ทางผู้ออกแบบได้แบ่งเป็นสองระบบคือ WGS-UTM (Drawing) เป็นระบบพิกัดยูทีเอ็มใช้พื้นหลักฐาน WGS84 Zone…

Continue Reading →

DIY: โครงการเรือสำรวจรีโมทไร้คนขับ (Unmanned Survey Vessel ) ตอนที่ 2 – สร้างลำเรือ ติดตั้งอุปกรณ์และทดสอบ

ขั้นตอนที่ 1 สร้างลำเรือ ผมทำงานอยู่ต่างประเทศ เมื่อกลับมาพักในเมืองไทยก็พอมีโอกาสได้ลองสร้างลำเรือต้นแบบ เริ่มต้นจากไปซื้อพลาสวู๊ดจากโกลบอลเฮาส์มาหนึ่งแผ่น ราคาสามร้อยกว่าบาท ยอมรับว่าไม่เคยใช้มาก่อน เอาแบบลำเรือที่ปริ๊นท์มาทาบลงไป ลากเส้นแล้วทำการตัดด้วยมีดคัตเตอร์ ไม่ยากตัดง่าย แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือพลาสวู๊ดนั้นเปราะไม่เหนียวทำให้หักง่ายเมื่อต้องดัดให้ได้รูปร่างที่ต้องการ จากนั้นต่อชิ้นส่วนด้วยกาวร้อน จะได้รูปร่างของเรือ ขั้นตอนที่ 2 เสริมความแข็งแรงด้วยไฟเบอร์กลาส ใช้นำ้ยาเรซิ่นผสมน้ำยาตัวเร่งที่เหมาะสม ใช้แปรงจุ่มน้ำยาผสมทาที่ลำเรือด้านล่างก่อน เอาแผ่นใยแก้วหรือไพเบอร์กลาสทาบลง…

Continue Reading →

พอร์ท:โปรแกรมเครื่องมือสำหรับช่างสำรวจฉบับกระเป๋า (Surveyor Pocket Tools) มาใช้บนแมคโอเอส

สำหรับสถิติการใช้งานระบบปฏิบัติทั้งโลกนี้สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะทั้งพีซีและโน๊ตบุ๊คในปี 2020 วินโดส์ทุกรุ่นประมาณ 79% แมคโอเอสทุกรุ่น 15% ลีินุกซ์ทุกดิสโทร 2% ที่เหลืออื่นๆเช่น ChromeOS เมื่อมามองดูแมคโอเอสก็ไม่ได้น้อยอย่างที่ผมคิด โปรแกรมตัวที่แล้วที่ผมพอร์ทมาใช้งานคือโปรแกรมคำนวณวงรอบ Traverse Pro ที่พัฒนาด้วย Lazarus + Free pascal compiler…

Continue Reading →

พอร์ท:โปรแกรมคำนวณวงรอบ Traverse Pro สำหรับแมคโอเอส

แมคโอเอส macOS Catalina ผมไม่ได้ใช้แมคมาเนิ่นนานมากนับเป็นเวลา 6 ปีกว่า มาในปีนี้ได้จับแมค Catalina หรือว่า 10.15 รุ่นหลักคือโอเอสเท็น (OSX) รุ่นแรกออกมาในปี 2001 ส่วนรุ่นย่อยคือ 15 ที่มีระยะเวลาการพัฒนามายาวนานมากกว่า 18 ปีแล้ว จากความที่ห่างหายไปนานเมื่อมาลองใช้ระยะแรกๆจะขัดๆ…

Continue Reading →

DIY: โครงการเรือสำรวจรีโมทไร้คนขับ (Unmanned Survey Vessel ) ตอนที่ 1 – วางผังโครงการและจัดซื้ออุปกรณ์

ปัจจุบันเข้าสู่ยุคคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเช่น Raspberry Pi, Arduino ที่สามารถนำมาขยายความสามารถโดยการเขียนโปรแกรมเพิ่มได้ง่าย และส่วนมากก็เป็นฮาร์ดแวร์ที่เปิด คนสามารถนำไปผลิตต่อยอดได้ทำให้อุปกรณ์พวกนี้เฟื่องฟู ขยายตัวอย่างรวดเร็ว นักศึกษาสามารถนำมาทำหุ่นยนต์ (Robot) ได้ง่ายกว่าสมัยแต่ก่อนมาก ฮาร์ดแวร์ราคาถูก มีไลบรารีที่ผู้อื่นพัฒนาแล้วนำมาใช้งานต่อยอดได้สะดวกและมากมาย ในยุคนี้ที่โดรนมีคนใช้มากมายหลากหลายวัตถุประสงค์จากสามารถนำไปทำงานต่างๆจนถึงสันทนาการ มีตั้งแต่เสียเงินซื้อทั้งที่ราคาถูกจนถึงราคาแพงลิบลิ่ว ยังมีพวก DIY ที่สามารถประกอบเองได้ มีฮาร์ดแวร์ที่ขายในราคาที่จับต้องได้ทั้งเฟรม (Frame…

Continue Reading →

Update: โปรแกรม Surveyor Pocket Tools เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับไลบรารี PROJ รุ่น 7 (PROJ.7)

เนื่องจากในเดิมที Surveyor Pocket Tools โปรแกรมเครื่องมือสำหรับช่างสำรวจฉบับกระเป๋าได้ใช้ไลบรารี PROJ รุ่น 4 หรือเรียกสั้นๆว่า PROJ.4 มาโดยตลอด ในช่วงที่ผ่านมาปีที่แล้ว ปี 2018 ทางโครงการ PROJ ได้รปรับปรุงขนานใหญ่จาก PROJ.5 มาเป็น PROJ.6…

Continue Reading →

วิธีการตั้งค่าสำหรับใช้งาน Docker และ VirtualBox

ผมคนหนึ่งที่ต้องใช้งาน Docker ผมเอามาคำนวณประมวลผลภาพโดรนด้วยโปรแกรม OpenDroneMap ที่พัฒนาบนลีนุกซ์ แต่สามารถเอามาใช้งานได้ผ่าน Docker ได้และสะดวก ง่ายต่อการใช้งานพอสมควร ส่วน VirtualBox ก็มีความจำเป็นต้องใช้ ผมติดตั้งวินโดส์ 7 บนนี้ เพื่อทดสอบติดตั้งโปรแกรมเช่นโปรแกรมคำนวณวงรอบ Traverse Pro หรือไม่ก็ Surveyor…

Continue Reading →

Update: โปรแกรมคำนวณวงรอบ Traverse Pro V2.75

พอมีเวลาเลยเอา Traverse Pro มาปัดฝุ่น แก้ไขตอนคำนวณข้อมูลแล้วการแสดงผลลงตารางช้ามากในรุ่น V2.73 มีผู้ใช้บ่นกันมามาก ผมนั่งดูโค้ดโปรแกรมแล้วเจอสาเหตุที่ช้า เลยทำการปรับปรุงโค้ดใหม่ ตอนนี้ผมปรับรุ่นโปรแกรมมาเป็น V2.75 ก็มาดูครับว่ามีรายการอะไรบ้าง ปรับปรุงตารางป้อนข้อมูล แยกสีสันในตารางป้อนข้อมูล ให้ดูง่ายว่าคอลัมน์ไหนเป็นมุม ระยะทาง ค่าพิกัด ย่อขยายคอลัมน์ ผมเอาโปรแกรมไปติดตั้งในวินโดส์ 7…

Continue Reading →

ย้อนรอยวิธีสร้างไฟล์รูปแบบ PGM ของ TGM2017 สำหรับใช้ใน GeographicLib

ผมได้เขียนบล็อกเกี่ยวกับ TGM2017 (Thailand Geoid Model 2017) มาหลายตอนแล้ว ไม่นานมานี้ทางรุ่นพี่ที่เคารพอาจารย์ดร.ไพศาล สันติธรรมนนท์ ได้วานให้ตรวจสอบไฟล์ TGM2017-1.PGM ที่ทางอาจารย์ได้สร้างไว้ด้วยโค้ดไพทอนเพื่อนำมาใช้ในไลบรารี GeographicLib ผมทดสอบแล้วใช้งานได้ดี ในขณะเดียวกันผมเห็นว่าน่าสนใจเพราะสามารถเผยแพร่การใช้งาน TGM2017 ให้ใช้งานได้หลากหลายในวงกว้างยิ่งๆขึ้นไป ผมขอสรุปรูปแบบการใช้งานดังนี้ รูปแบบแอสกี้: TGM2017.ASC…

Continue Reading →