ในที่สุดก็ได้ฤกษ์เบิกโรงวันที่ 22 พค. 2567 (วันวิสาขะบูชา) ที่ผ่านผมได้ส่งแอพ SurveyStar Quick TM เพื่อให้กูเกิ้ลได้รีวิวและก็ผ่านเป็นที่เรียบร้อย โทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์สามารถหาดาวน์โหลดกันได้ที่ SurveyStar Quick TM ช่องการติดต่อผู้พัฒนาแอพ ในกรณีมีการใช้มีปัญหาหรือหรือเจอบั๊กสามารถรายงานผ่านทางอีเมล์ในแอพได้ ที่แอพกดเมนูสามขีดแนวนอน จะเห็นเมลูลิ้นชักโผล่ออกมา เมื่อคลิกที่เมนู “Contact…
ในงานก่อสร้างเสาเข็มกลุ่มจำพวก ฐานรากของสิ่งก่อสร้างเช่น อาคาร สะพานยกระดับ รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง เป็นต้น รูปแบบที่พบส่วนมากจะมีระยะห่างระหว่างเสาเข็ม (spacing) มีระยะที่คงที่และรูปแบบมีความสมมาตร (symmetry) โดยรูปแบบจะแตกต่างไปตามจำนวนเสาเข็มที่มาประกอบกันเป็นฐานราก รูปแบบเสาเข็มกลุ่ม การวาดตำแหน่งเสาเข็มในโปรแกรมจำพวกแคดต่างๆก็ไม่ได้ยากอะไร สำหรับการสร้างค่าพิกัดเสาเข็มกลุ่มแบบไว ขอแนะนำโมดูล Pile Array Generator ที่อยู่ในแอพ…
ย้อนไปสู่พื้นฐานงานสำรวจ (Back to the basic) ผมเคยบอกกันไว้ในบล็อกในบทความก่อนหน้านี้ว่าได้พัฒนาแอพพื้นฐานงานสำรวจ ชื่อเดิมที่ตั้งกันมาคือ SuperCOGO จากนั้นเปลี่ยนชื่อเป็น SurveyStar COGO สุดท้ายแล้วเปลี่ยนชื่อมาเป็น SurveyStar Calculator ในที่สุด เพราะว่าตัวแอพเองมีมากกว่า COGO ภาษาและเครื่องมือพัฒนาโปรแกรม (Dart &…
ตอนนี้น่าจะเป็นตอนที่ต่อจาก Dart & Flutter : เส้นทางขวากหนามกับไลบรารี PROJ แบบเนทีฟบนแอนดรอยด์ ครั้งก่อนผมคอมไพล์และบิวท์รุ่น 9.1.0 เพื่อนำไลบรารีมาใช้กับแอพ Ezy Geo Pro สำหรับแอนดรอยด์ ตอนนี้ผ่านมาหนึ่งปีผมต้องการอัพเดทไลบรารี PROJ4 รุ่น 9.3.0 ที่ตัวไลบรารีเองมีการแก้บั๊กซ์และเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ…
เปลี่ยนชื่อแอพ ในที่สุดผมก็เข็นครกดันเอาแอพรุ่นแรกสำหรับแอนดรอยด์ออกมาได้สำเร็จ “Ezy Geo Pro” เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2023 ที่ผ่านมาก ตัวแอพผ่านการเปลี่ยนชื่อมาแล้วหลายครั้งจาก “Thai Easy Geo” เป็น “A Ezy Geo” สุดท้ายเป็น “Ezy…
เริ่มต้นจากศูนย์ที่ต้นซอยด้วยการพัฒนาแอพด้วยดาร์ทและฟลัตเตอร์ จากที่ยืนหันรีหันขวางแบบยืนงงว่าจะไปทางไหน ตอนนี้ภาษาดาร์ทได้เริ่มซึมซับเข้าสมองมาบ้างแล้ว เริ่มจากคลานตอนนี้พอจะเดินได้แบบเตาะแตะ เคยบอกไปว่าบนฟลัตเตอร์มีไลบรารี Proj4 ชื่อ Proj4Dart แต่มีปัญหาแปลงพิกัดได้คลาดเคลื่อนโดยเฉพาะระบบพิกัดรถไฟความเร็วสูงไทยจีนประมาณ 27 ซม. จนต้องถอยไปตั้งหลักว่าจะเอาไงดีสำหรับการจะใช้ไลบรารี PROJ บนแฟล็ตฟอร์มแอนดรอยด์และไอโอเอส ทางเลือกแรกใช้ปลั๊กอิน “Chaquopy” ทางแรกเท่าที่ลองคือเอาไลบรารีของไพทอนมารันบนฟลัตเตอร์ด้วย plug-in ชื่อ Chaquopy…
จากที่ผมรอคอยโครงการ Beeware มาจะร่วมๆสามปีแล้ว แต่พบว่าความก้าวหน้าของโครงการมีการเคลื่อนไหวน้อยมากเหมือนจะหยุดนิ่งสนิท สำหรับโครงการ Beeware คือโครงการทำเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมข้ามแพล็ตฟอร์มเพื่อให้ผู้ใช้งานพัฒนาซอฟท์แวร์ด้วยภาษาไพธอน ให้สามารถใช้งานได้ทุกแพล็ตฟอร์มอย่างหลากหลายโดยเฉพาะบนโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์และ iOS เป็นโครงการเปิดโค้ด (open-source) ที่อาศัยการระดมทุนเพื่อหาเงินให้โครงการสามารถเดินหน้าต่อไปได้ สำหรับ Kivy framework (ภาษาไทยออกเสียงกีวี เป็นคำพ้องเสียง Kiwi ที่เป็นชื่อผลไม้ชนิดหนึ่ง) ผมได้ศึกษาเบื้องต้นเมื่อเกือบจะสิบปีที่แล้ว…