วันนี้มาพูดถึงไลบรารี Proj.4 แบบลึกๆกันหน่อย บทความตอนนี้จะเป็นเรื่องโปรแกรมมิ่งนะครับ ไลบรารีตัวนี้ผมใช้เป็นแกนหลักในโปรแกรมรวมเครื่องมือฉบับกระเป๋าสำหรับช่างสำรวจ (Surveyor Pocket Tools) เอามาแปลงพิกัดกับระบบพิกัดที่ใช้กันในโลกนี้ (อาจจะได้ไม่ทั้งหมด) และไม่นานนี้ผมได้นำมาคำนวณ Vertical Datum คือสามารถหาความสูงจีออยด์ได้ ในความเป็นจริงถ้ามี Vertical Grid Shift หลายๆอันสามารถแปลงค่าระดับข้ามไปมาได้แบบที่ใช้ในอเมริกา ก็ใช้มาหลายปีแล้ว…
สำหรับการคำนวณ Scale Factor ไม่ว่าจะเป็นจุดเดี่ยว (Point scale factor) หรือแบบเส้นตรงเฉลี่ย (Line scale factor) หรือไม่ว่าจะคำนวณพื้นที่จริงที่ทอนจากพื้นที่ตามระบบพิกัดฉากกริด ก็ตามผมเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ TGM2017 (Precise Geoid Model of Thailand 2017)…
ไม่นานมานี้มีผมดาวน์โหลดไฟล์โปรแกรมและข้อมูลของ TGM2017 เรียกเต็มๆคือ Thailand Geoid Model 2017 ที่เป็นโครงการร่วมมือจากหลายๆฝ่ายของทางราชการ ผมยังไม่มีโอกาสได้นำไปใช้งาน โดยเฉพาะจะนำมาประยุกต์ใช้ในงานรังวัด GNSS ถือว่าเป็นสิ่งที่พวกเรารอคอยมานานที่จะได้มี local geoid model มาใช้งานกัน โดยเฉพาะงานรังวัด GNSS เมื่อคำนวณแล้วจะได้ค่าพิกัดทางราบ และทางดิ่งจะได้ความสูง…
ผมทิ้งช่วงเรื่องการออกแบบและประยุกต์ใช้เส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำเป็นระยะเวลาเนิ่นนานพอสมควรเนื่องจากติดภารกิจไปทำงานต่างประเทศที่หาเวลาว่างนานๆได้ยาก ถ้าผู้อ่านไม่ได้ติดตามเรื่องนี้ตั้งแต่ต้นขอให้กลับไปอ่านหรือศึกษาได้ตามลิ๊งค์ตังต่อไปนี้ แนะนำการใช้เส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ (Low Distortion Projection) และ การออกแบบเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ (Low Distortion Projection) ตอนที่ 1 เรื่องเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย แต่ในต่างประเทศบางประเทศได้ประยุกต์ใช้งานมานานแล้ว ประโยชน์ของเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำเมื่อประยุกต์ใช้แล้วคือ ความต่างระหว่าง Ground Distance และ…
จากลองของเป็นลองดี จากตอนที่แล้วเมื่อต้องลองของเอาโดรนเซลฟี่ DJI Spark มาบินทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ตอนนี้เลยคำว่า”ลองของ”ไปไกลหลายช่วงตัวแล้ว เพราะแพ็ตช์หรือโมดิฟายด์แอพ DJI GO 4 เรียกง่ายว่าเป็นการ “ลองดี” ไปแล้ว เพื่อนำโดรนมาบินทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศโดยที่เปิดหรือใช้ฟีเจอร์ที่ซ่อนไว้ ตอนนี้ฟีเจอร์เทียบได้กับโดรนรุ่นใหญ่เช่น Phantom 4 Pro หรือ Mavic…
รอคอยมานานแต่ไม่รู้ว่าสิ่งที่รอคอยมันคืออะไร สำหรับคนที่เคยเขียนโปรแกรมลงเครื่องคิดเลขคาสิโอ ถ้าเคยเขียนโปรแกรมมิ่งบนระบบใหญ่ๆมาก่อนเช่นจาวา ซี หรือไพทอน จะรู้สึกว่าโดนมัดมือมัดเท้าทำอะไรไม่ถนัด ภาษาเบสิคของคาสิโอ (basic casio) ก็ดูจะหน่อมแน๊ม ตัวแปรก็จำกัดไม่กี่ตัว เมมโมรีสำหรับเก็บโปรแกรมก็น้อยนิดเดียว เขียนฟังก์ชั่นก็ไม่ถนัด ก็เลยได้แต่โปรแกรมอะไรที่ง่ายๆ ใช้ตัวแปรไม่มาก แต่ไม่นานที่ผ่านมา เผอิญไปค้นหาในอินเทอร์เน็ต โดยที่หาโปรแกรมแบบ basic casio…
“Today, GPS has thrust surveyors into the thick of geodesy, which is no longer the exclusive realm of distant experts.…
ทดสอบตัวอย่างที่ 2 บนพื้นหลักฐาน Indian 1975 ตัวอย่างนี้จะดึงจากตารางฐานข้อมูลที่ผมเตรียมไว้ หมายเหตุว่าตารางฐานข้อมูลผมบูรณาการใหม่ จากเดิมที่เคยเก็บค่าพิกัดในระบบพิกัดฉากกับระบบภูมิศาสตร์แยกกัน ตอนนี้จับมารวมอยู่ด้วยกัน พร้อมมีฟิลด์ที่เก็บระบบพิกัดด้วย เวลาต้องการใช้งานก็ลากมาคำนวณได้เลย จากรูปด้านล่างคลิกที่ไอคอนรูปหมุด จะได้ตารางข้อมูลที่เก็บค่าพิกัดและค่าระดับ(ถ้ามี) พร้อมทั้งระบบพิกัด เมื่อเปิดมาแล้วผมลากเปลียนขนาดให้ดูใหญ่ว่าแต่ละคอลัมน์มีอะไรบ้าง และเลื่อนตารางไปท้ายสุด ดูบรรทัดที่ไฮไลท์เป็นสีน้ำเงินไว้ เราจะทดสอบโดยใช้ข้อมูลนี้ ระบบพิกัดของจุดนี้อยู่บนพื้นหลักฐาน “Indian…
Vietnam 2000 Datum (VN-2000) ผมมีโอกาสได้จับงานเอกสารงานในกรุงโฮจิมินท์ของเวียดนาม (แต่ยังไม่ได้ไปทำหรอกครับ) ซึ่งในงานนั้นมีงานสำรวจอ้างอิงถึงระบบพิกัดของเวียดนามคือ VN-2000 ที่งานนี้จะต้องใช้อ้างอิงระบบพิกัดนี้ ก็เลยไปค้นหาในอินเตอร์เน็ตก็ได้พบใบประกาศใช้ระบบพิกัดนี้ ของทางราชการของเวียดนามคือ Ministry of Natural Resources and Environment (MONRE) ผมดาวน์โหลดมาแต่กลับไปค้นหาลิ๊งค์ต้นฉบับไม่เจอ ถ้าต้องการดูก็ตามลิ๊งค์นี้ครับ ผมเห็นบทความของของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของเวียดนามท่านนี้ได้พูดถึงระบบพิกัด VN-2000 ของเวียดนามกับ…
ทดสอบข้อมูลค่าพิกัดรูปปิดบนพื้นหลักฐาน Indian 1975 ขอพูดเกี่ยวกับ work flow สักนิด เมื่ออ่านไฟล์รูปปิดจากไฟล์ CSV มาแล้ว โปรแกรมจะคำนวณหาจุด centroid หรือจุดศูนย์ถ่วงของพื้นที่ แล้วจะแปลงพิกัดเป็นค่าพิกัดในพื้นหลักฐาน WGS84 ทั้งค่าพิกัดของรูปปิดและจุดศูนย์ถ่วงด้วย จากนั้นโปรแกรมจะสร้างเส้นโครงแผนที่ Lambert Azimuthal Equal Area โดยการใช้จุดศูนย์ถ่วงเป็น…