ไปกันให้สุดซอยกับ Dart & Flutter

ภาษาดาร์ท (Dart) ดาร์ท (Dart) เป็นภาษาที่อายุอานามประมาณบวกลบ 10 ปีได้ถือว่าเป็นภาษาโปรแกรมมิ่งที่ใหม่มาก ที่ประมวลเอาข้อดีของโปรแกรมรุ่นเก่าทั้งหลายทั้งมวล ส่วนฟลัตเตอร์ (Flutter) คือเฟรมเวิร์คสำหรับพัฒนาโปรแกรมแบบ cross platform ของกูเกิ้ลที่เขียนโค้ดครั้งเดียวสามารถนำไปรันได้ทั้ง วินโดส์ แมคโอเอส ลีนุกซ์ รวมทั้ง iOS และแอนดรอยด์ด้วย…

Continue Reading →

เมื่อลมพัดหวน : Kivy framework เครื่องมือพัฒนาแอพสำหรับโทรศัพท์มือถือ

จากที่ผมรอคอยโครงการ Beeware มาจะร่วมๆสามปีแล้ว แต่พบว่าความก้าวหน้าของโครงการมีการเคลื่อนไหวน้อยมากเหมือนจะหยุดนิ่งสนิท สำหรับโครงการ Beeware คือโครงการทำเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมข้ามแพล็ตฟอร์มเพื่อให้ผู้ใช้งานพัฒนาซอฟท์แวร์ด้วยภาษาไพธอน ให้สามารถใช้งานได้ทุกแพล็ตฟอร์มอย่างหลากหลายโดยเฉพาะบนโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์และ iOS เป็นโครงการเปิดโค้ด (open-source) ที่อาศัยการระดมทุนเพื่อหาเงินให้โครงการสามารถเดินหน้าต่อไปได้ สำหรับ Kivy framework (ภาษาไทยออกเสียงกีวี เป็นคำพ้องเสียง Kiwi ที่เป็นชื่อผลไม้ชนิดหนึ่ง) ผมได้ศึกษาเบื้องต้นเมื่อเกือบจะสิบปีที่แล้ว…

Continue Reading →

ภาษาไพทอนสู่เครื่องคิดเลข HP Prime

ปกติเครื่องคิดเลข HP Prime G2 ที่ผมยกให้เป็นเทพของเครื่องคิดเลขด้านวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ผมเขียนโปรแกรมด้วยภาษา HP PPL หรือ Prime Programming Language คล้ายๆปาสคาลแต่บางอย่างคล้ายไพทอน จากทิศทางที่เครื่องคิดเลขระดับไฮเอ็นต์ของ Casio และ TI ได้นำร่องโดยเอาภาษาไพทอนลงเครื่องคิดเลขไปก่อนหน้านี้ โดยจริงๆแล้วไพทอนในเวอร์ชั่นของเครื่องคิดเลขจะถูกออปติไมซ์ให้ใช้กับเครื่องที่มีความเร็วซีพียูที่ช้าและแรมไม่มากนัก ที่ดังที่สุดได้แก่…

Continue Reading →

มหาเทพ HP Prime G2 ตอนโปรแกรมคำนวณโค้งดิ่ง (Vertical Curve)

บทความเครื่องคิดเลข HP Prime G2 นับเป็นบทความที่ 3 จากโค้งราบ (Horizontal Curve) มาสู่โค้งสไปรัล (Spiral Curve) และในบทความนี้จะมาปิดที่โค้งดิ่ง (Vertical Curve) สำหรับโค้งทั้งหลายเหล่านี้นำมาประยุกต์ใช้กับงานถนน, รถไฟ และรถไฟฟ้า โค้งดิ่ง (Vertical…

Continue Reading →

ไขความลับดำมืดโค้งสไปรัล ตอนที่ 1

จากที่ผมได้เขียนโปรแกรมลงเครื่องคิดเลข HP Prime G2 คำนวณโค้งสไปรัล ทำให้เห็นว่าจะต้องใช้สูตรตัวไหน เริ่มต้นคำนวณอย่างไร เป็นลำดับขั้นตอนไปอย่างไร ช่างสำรวจหรือวิศวกรสำรวจน้อยคนนักที่จะได้คำนวณโค้งสไปรัล ปัจจุบันโปรแกรมออกแบบงานถนน งานรถไฟอย่าง Civil 3D สามารถออกแบบงานได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ การไปเลเอ้าท์หน้างานก็อาศัยโปรแกรมจากแคด จึงทำให้โอกาสน้อยคนที่จะสามารถคำนวณเองด้วยมือได้ ความลับดำมืดจึงยังคงอยู่กับโค้งสไปรัลต่อไป แต่ถ้าตั้งใจทำความเข้าใจลำดับการคำนวณโค้งสไปรัลก็ไม่ได้ยากเลย เพียงแต่ต้องหาสูตรให้ถูกที่ถูกทางก่อน หลายๆสูตรไปผูกกับหน่วยฟุตแนบแน่น…

Continue Reading →

มหาเทพ HP Prime G2 ตอนโปรแกรมคำนวณโค้งสไปรัล (Spiral Curve)

ตอนที่แล้วผมนำเสนอโปรแกรมคำนวณโค้งราบบน HP Prime G2 ค่อนข้างน่าประทับใจโปรแกรมเขียนด้วยภาษา PPL ภาษานี้พัฒนาโดย HP เอง ลักษณะคล้ายภาษาปาสคาลแต่เพิ่มเรื่องลิสต์ ปรับ syntax ให้กระชับเข้าใจง่าย ประกาศตัวแปรแต่ตัวแปรไม่มี type มีไลบรารีฟังก์ชั่นให้พร้อมสรรพทั้งด้านคณิตศาสตร์ สถิติ และมีฟังก์ชันวาดรูปมาค่อนข้างดี สามารถอ่านไฟล์ได้ การ…

Continue Reading →

ปฐมฤกษ์โปรแกรมแรกบนเครื่องคิดเลขเทพเหนือเทพ HP Prime G2 (Horizontal Curve)

หนึ่งเดือนที่ผมจับเครื่องคิดเลขเอชพี ไพรม์ รุ่นจีทู ราคาแปดพันห้าร้อยบาทนับว่าเป็นเครื่องคิดเลขที่ราคาสูงที่สุดที่ผมเคยเป็นเจ้าของมา มีฟังก์ชั่นเยอะมาก วาดกราฟสามมิติได้ แต่ผมไม่ได้ใช้ จะไม่ขอพูดถึง สถาปัตยกรรมใช้ซีพียูแกน ARM Cortex A7 ความเร็ว 528 MHz มีแรม 256 MB และแฟลชรอม 512 MB หน้าจอแสดงผลขนาด…

Continue Reading →

รวมชุดโปรแกรมพื้นฐานงานสำรวจ 4 ชุดสำหรับเครื่องคิดเลข fx-9860GII, fx-9860GIII และ fx-9750GIII (พัฒนาด้วยภาษาซี) พร้อมคู่มือ

ผมเคยลงโปรแกรมพื้นฐานสำรวจชุดที่ 1 ด้วยภาษาซีสำหรับเครื่อง fx-9860GII SD ไปนานแล้ว ตอนนี้กลับมาแก้ไขบั๊กเล็กๆน้อยๆ และพัฒนาโปรแกรมเพิ่มโปรแกรมพื้นฐานงานสำรวจชุดที่ 2, ชุดที่ 3 และชุดที่ 4 เพื่อให้เครื่อง fx-9860GII SD รุ่นเก่าที่ไม่มีภาษาไพทอนสามารถใช้งานได้เท่าเทียมกัน โปรแกรมที่พัฒนาด้วยภาษาซีจะมีดีกว่าไพทอนตรงที่กินหน่วยความจำน้อย เวลาป้อนค่าโปรแกรมสามารถเอาค่าตัวเลขไปเก็บไว้ในเมโมรีตัวอักษร A-Z…

Continue Reading →

(ฟรี)โปรแกรมภาษาไพทอนบนเครื่องคิดเลขคาสิโอ fx-9750GIII fx-9860GIII และ fx-cg50 โปรแกรมพื้นฐานงานสำรวจชุดที่ 4 (COGO Selected Serie 4)

ตอนนี้มาถึงโปรแกรมพื้นฐานงานสำรวจชุดที่ 4 (COGO Selected Serie 4) สำหรับเครื่องคิดเลขคาสิโอ fx-9750GIII, fx-9860GIII และ fx-cg50 PRIZM สามรุ่นที่รองรับภาษาไพทอนหรือไมโครไพทอน ได้ในขณะนี้ หาซื้อได้ในเมืองไทย ราคาย่อมเยาที่สุดคือ fx-9750GIII ที่ราคาประมาณสามพันบาท ถ้ามีงานการทำเป็นหลักเป็นแหล่งแล้วไม่น่าแพง บางทีเราซื้อโทรศัพท์มือถือได้ราคาเป็นเรือนหมื่นไม่คิดอะไรมาก…

Continue Reading →

(ฟรี)โปรแกรมภาษาไพทอนบนเครื่องคิดเลขคาสิโอ fx-9750GIII fx-9860GIII และ fx-cg50 โปรแกรมพื้นฐานงานสำรวจชุดที่ 3 (COGO Selected Serie 3)

ตอนนี้มีเครื่องคิดเลขของคาสิโอสามรุ่นที่สามารถโปรแกรมด้วยภาษาไพทอนหรือไมโครไพทอน (MicroPython) ได้คือ fx-9750GIII, fx-9860GIII และ fx-cg50 ทั้งสามรุ่นสามารถหาซื้อได้ไม่ยากนัก ผมซื้อมาทางออนไลน์สะดวกดี สนนราคาเรียงตามรุ่นตอนนี้อยู่ที่ สามพันบาท สี่พันห้าร้อยบาทและเจ็ดพันกว่าบาทตามลำดับ ผมแนะนำให้สำหรับคนที่เบี้ยน้อยหอยน้อยลงทุนกับ fx-9750GIII เพราะราคาไม่แพง คุ้มค่าเกินราคา ทั้งสามรุ่นสามารถโปรแกรมด้วยภาษาคาสิโอเบสิคและภาษาไพทอน แล้วแต่ความถนัด ความชอบ ถ้าโปรแกรมด้วยไพทอนจะสามารถเขียนโปรแกรมที่ยากๆหรือคณิตศาสตร์ซับซ้อนขึ้นมาได้ นี่เป็นเหตุผลสำคัญ…

Continue Reading →