ผมได้เขียนบล็อกเกี่ยวกับ TGM2017 (Thailand Geoid Model 2017) มาหลายตอนแล้ว ไม่นานมานี้ทางรุ่นพี่ที่เคารพอาจารย์ดร.ไพศาล สันติธรรมนนท์ ได้วานให้ตรวจสอบไฟล์ TGM2017-1.PGM ที่ทางอาจารย์ได้สร้างไว้ด้วยโค้ดไพทอนเพื่อนำมาใช้ในไลบรารี GeographicLib ผมทดสอบแล้วใช้งานได้ดี ในขณะเดียวกันผมเห็นว่าน่าสนใจเพราะสามารถเผยแพร่การใช้งาน TGM2017 ให้ใช้งานได้หลากหลายในวงกว้างยิ่งๆขึ้นไป ผมขอสรุปรูปแบบการใช้งานดังนี้ รูปแบบแอสกี้: TGM2017.ASC…
ตอนที่ 1 ผมนำเสนอการปรุจุดเพื่อกำหนดจุดบังคับภาพถ่าย (Ground Control Point) แบบวิ่งควาย ที่อาศัยแรงกันเป็นหลัก ได้ไฟล์มาตั้งชื่อ “gcp_list_Computation_WGS84_UTM32N.txt” เอามาลงอีกครั้งด้านล่าง สร้างโปรเจคคำนวณ กลับมาที่ WebODM วิธีการใช้ติดตามตอนแรกได้ที่ ลิ๊งค์ นี้ คลิกที่ “+Add Project”…
สำหรับงานสำรวจทำแผนที่ นับว่าการบินโดรนเพื่อมาทำแผนที่ให้ได้พิกัดโลกที่ละเอียดนำไปใช้งานได้นั้น วิธีการดั้งเดิมคือใช้จุดบังคับภาพถ่าย (Ground Control Point – GCP) สมัยใหม่อาจจะใช้ RTK/PPK ก็ให้ความสะดวกมากขึ้นและประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า มาลองดูกันว่าการใช้จุดบังคับภาพถ่ายเพื่อนำมาใช้ในโปรแกรมฟรี OpenDroneMap จะเป็นยังไง ความยากความง่าย ความสะดวกจะขนาดไหน การกำหนดจุดบังคับภาพถ่ายโดยใช้ GCP ถ้าผู้อ่านรุ่นราวคราวเดียวกับผม เคยเรียนวิชา…
วันนี้มาพูดถึงไลบรารี Proj.4 แบบลึกๆกันหน่อย บทความตอนนี้จะเป็นเรื่องโปรแกรมมิ่งนะครับ ไลบรารีตัวนี้ผมใช้เป็นแกนหลักในโปรแกรมรวมเครื่องมือฉบับกระเป๋าสำหรับช่างสำรวจ (Surveyor Pocket Tools) เอามาแปลงพิกัดกับระบบพิกัดที่ใช้กันในโลกนี้ (อาจจะได้ไม่ทั้งหมด) และไม่นานนี้ผมได้นำมาคำนวณ Vertical Datum คือสามารถหาความสูงจีออยด์ได้ ในความเป็นจริงถ้ามี Vertical Grid Shift หลายๆอันสามารถแปลงค่าระดับข้ามไปมาได้แบบที่ใช้ในอเมริกา ก็ใช้มาหลายปีแล้ว…
ในกรณีที่ต้องการค่าความสูงจีออยด์จากจุดที่มีจำนวนมากตัวอย่างเช่นเป็นสิบจุดขึ้นไป การมานั่งคำนวณทีละจุดคงไม่ใช่เรื่องที่สะดวกนัก ผมปรับปรุงโปรแกรมให้สามารถอ่านไฟล์ค่าพิกัดภูมิศาสตร์ (ละติจูดและลองจิจูด) ในรูปแบบ CSV ที่ใช้ตัวแบ่งด้วยเครื่องหมายคอมมา “,” ค่าพิกัดละติจูดและลองจิจูด ต้องเป็นรูปแบบทศนิยม (degree) เท่านั้น การจัดเรียงค่าพิกัดของให้ขึ้นต้นด้วยค่าลองจิจูดตามด้วยเครื่องหมายคอมม่าและค่าละติจูด ไฟล์ทดสอบ ไฟล์ที่จะมาทดสอบโปรแกรม ผมสร้างจากโค้ดภาษาไพทอน ให้สุ่มจำนวนจุดค่าพิกัดขึ้นมา 10000 จุด โดยให้ค่าพิกัดที่สุ่มอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมนี้คือ…
สำหรับการคำนวณ Scale Factor ไม่ว่าจะเป็นจุดเดี่ยว (Point scale factor) หรือแบบเส้นตรงเฉลี่ย (Line scale factor) หรือไม่ว่าจะคำนวณพื้นที่จริงที่ทอนจากพื้นที่ตามระบบพิกัดฉากกริด ก็ตามผมเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ TGM2017 (Precise Geoid Model of Thailand 2017)…
มาตามสัญญาที่ผมบอกว่าจะอัพเดท Surveyor Pocket Tools โปรแกรมช่างสำรวจฉบับกระเป๋า ให้สามารถใช้งานคำนวณความสูงจีออยด์ TGM2017 (Thailand Precise Geoid Model 2017) ดั้งเดิมสามารถคำนวณบนโมเดล EGM96 และ EGM2008 เพียงเท่านั้น เปลี่ยนวีธีการคำนวณโดยใช้ไลบรารี Proj4 ดั้งเดิมตอนคำนวณหาความสูงจีออยด์บน…
ตั้งสมการ Observation Equation ขอทบทวน ค่า aik, bik เรียกว่า direction coefficients และ cik, dik เรียกว่า distance coefficients ในกรณีวัดมุมเล็งสกัดย้อนจากสมการด้านบนและเอาแทนที่ในสมการด้านล่าง เขียนให้ดูง่ายดังนี้ zi คือค่าอะซิมัทเริ่มต้น…
จากที่เขียนโปรแกรมสำหรับเครื่องคิดเลขคำนวณเล็งสกัดย้อนสำหรับเครื่องคิดเลข Casio fx-9860G II SD ทำให้นึกถึงวิธีการคำนวณแบบ least squares ที่เป็นพื้นฐานเคยร่ำเรียนมา โดยเฉพาะการรังวัดในปัจจุบันที่การรังวัดระยะทางด้วยกล้องประมวลผลรวมทำได้ง่าย เมื่อรวมกับการรังวัดมุม จะทำให้มีค่าเกินหรือ redundant มาคำนวณในวิธีแบบ least square ได้ การรังวัดแบบเล็งสกัดย้อนบางตำราเรียกว่า free station…
ผมทิ้งช่วงเรื่องการออกแบบและประยุกต์ใช้เส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำเป็นระยะเวลาเนิ่นนานพอสมควรเนื่องจากติดภารกิจไปทำงานต่างประเทศที่หาเวลาว่างนานๆได้ยาก ถ้าผู้อ่านไม่ได้ติดตามเรื่องนี้ตั้งแต่ต้นขอให้กลับไปอ่านหรือศึกษาได้ตามลิ๊งค์ตังต่อไปนี้ แนะนำการใช้เส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ (Low Distortion Projection) และ การออกแบบเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ (Low Distortion Projection) ตอนที่ 1 เรื่องเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย แต่ในต่างประเทศบางประเทศได้ประยุกต์ใช้งานมานานแล้ว ประโยชน์ของเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำเมื่อประยุกต์ใช้แล้วคือ ความต่างระหว่าง Ground Distance และ…