ตอนนี้มีเครื่องคิดเลขของคาสิโอสามรุ่นที่สามารถโปรแกรมด้วยภาษาไพทอนหรือไมโครไพทอน (MicroPython) ได้คือ fx-9750GIII, fx-9860GIII และ fx-cg50 ข้อดีของภาษาไพทอนนั้นคือง่าย ทรงพลัง แต่ข้อจำกัดของเครื่องคิดเลขคือหน่วยความจำที่มีมาน้อย ดังนั้นบนเครื่องคิดเลขจะมีไลบรารีที่นำมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานได้น้อย ต้องปรับกันพอสมควร ไม่มีไลบรารีเทพแบบ Numpy ที่จะมาใช้คำนวณเรื่องเมตริกซ์ (Matrix) ดังนั้นถ้าใช้เมตริกซ์ก็ต้องออกแรงเขียนโค้ดเองมากหน่อย แต่ยังมี Matplotlib ฉบับย่อที่พอกล้อมแกล้มได้เล็กน้อย…
ไม่กี่วันนี้ผมได้ถอยเครื่องคิดเลข fx-9860GIII มาหนึ่งเครื่องราคาประมาณสี่พันห้าร้อยบาท ส่วนน้องๆในที่ทำงานถอย fx-9750GIII มาหนึ่งเครื่องเช่นเดียวกันแต่ราคาย่อมเยากว่า ราคาเครื่องประมาณสามพันบาท สองรุ่นนี้เขียนภาษาไพทอนได้ ไพทอนที่ลงในเครื่องคิดเลขเป็นไพทอนรุ่นเล็กเรียกว่า ไมโครไพทอน (Micropython) แต่ไมโครไพทอนที่ลงในเครื่องคิดเลข ทางคาสิโอลงไลบรารีมาให้ใช้แค่สองไลบรารีคือ math และ random ที่อยากได้มากคือไลบรารี io ที่สามารถเขียนอ่านไฟล์ได้กลับไม่ลงมาให้ ทำให้การใช้งานจำกัดจำเขี่ยเหมือนโดนมัดมือมัดเท้า…
COGO (Coordinate Geometry) ผมพยายามจะแปลคำนี้เป็นภาษาไทยอยู่นานทีเดียว แต่สุดท้ายขอทับศัพท์ดีกว่า จริงๆแล้วงานสำรวจคืองานที่เกี่ยวกับทรงเรขาคณิต (Geometry) อยู่แล้ว และต้องสามารถระบุค่าพิกัด (Coordinate) ทุกๆจุดได้บนเรขาคณิตนั้นๆ ความเกี่ยวข้องระหว่างรูปทรงเรขาคณติกับค่าพิกัดจะเกี่ยวข้องกันด้วยมุมและระยะทางเป็นส่วนใหญ่ Selected Serie 1 (SSE 1) คำนี้เอามันครับ ผมนึกถึงโปรแกรมตระกูลไมโครสเตชัน (Microstation)…