จากบทความที่แล้ว ผมได้พาย้อนรอยไปดูระบบพิกัดที่ใช้ในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน และทางดร.ไพศาล ได้มาไขความกระจ่างว่าวิธีการออกแบบในโครงการนี้เป็นการขยายรูปทรงรีแบบอัตราส่วน (Scale reference ellipsoid) ตามค่าความสูง project plane ที่ทางผู้ออกแบบโครงการนี้ให้มา โดยที่ค่า K0 = 1.0 เป็นค่าคงที่ พร้อมได้เอื้อเฟื้อโค้ดไพทอนสำหรับการแปลงค่าพิกัดมาให้ดูเป็นตัวอย่าง ผมขอขอบคุณมา ณ ที่นี้เป็นอย่างสูง…
ผมได้เสนอบทความไปหลายตอนเรื่องเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ ทั้งความเป็นมา ประโยชน์ ตลอดจนการคำนวณสร้างเส้นโครงแผนที่ มาดูตัวอย่างการใช้งานจริงๆในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ว่าทางผู้ออกแบบได้มีการวางแผนสร้างเส้นโครงแผนที่นี้อย่างไร นำมาใช้อย่างไรบ้าง ก็ขออนุญาตนำเอกสารบางส่วนในโครงการนี้มาเผยแพร่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบพิกัดเส้นโครงแผนที่เท่านั้น โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (กรุงเทพฯ – นครราชสีมา) ระบบพิกัดแผนที่ ทางผู้ออกแบบได้แบ่งเป็นสองระบบคือ WGS-UTM (Drawing) เป็นระบบพิกัดยูทีเอ็มใช้พื้นหลักฐาน WGS84 Zone…
ปัจจุบันเข้าสู่ยุคคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเช่น Raspberry Pi, Arduino ที่สามารถนำมาขยายความสามารถโดยการเขียนโปรแกรมเพิ่มได้ง่าย และส่วนมากก็เป็นฮาร์ดแวร์ที่เปิด คนสามารถนำไปผลิตต่อยอดได้ทำให้อุปกรณ์พวกนี้เฟื่องฟู ขยายตัวอย่างรวดเร็ว นักศึกษาสามารถนำมาทำหุ่นยนต์ (Robot) ได้ง่ายกว่าสมัยแต่ก่อนมาก ฮาร์ดแวร์ราคาถูก มีไลบรารีที่ผู้อื่นพัฒนาแล้วนำมาใช้งานต่อยอดได้สะดวกและมากมาย ในยุคนี้ที่โดรนมีคนใช้มากมายหลากหลายวัตถุประสงค์จากสามารถนำไปทำงานต่างๆจนถึงสันทนาการ มีตั้งแต่เสียเงินซื้อทั้งที่ราคาถูกจนถึงราคาแพงลิบลิ่ว ยังมีพวก DIY ที่สามารถประกอบเองได้ มีฮาร์ดแวร์ที่ขายในราคาที่จับต้องได้ทั้งเฟรม (Frame…