เครื่องมือช่วยออกแบบเส้นโครงแผนที่ความคลาดเคลื่อนต่ำ ด้วย LDP Companion เพื่อนคู่คิดมิตรคู่ใจ (#กำลังพัฒนา #Rust #Slint)

สำนวนโบราณ “จากกันสามวันนารีเป็นอื่น” ไม่รู้ปัจจุบันนี้ยังใช้ได้ไหม แต่สำหรับกับความรู้ภาษา Rust ที่ร่ำเรียนมาแบบหน้าดำคร่ำเครียด เพียงแค่หนึ่งเดือนไม่ได้จับ พอมาจับอีกครั้งเกิดอาการลืมเลือนไปอย่างรวดเร็ว วิธีการที่จะทำให้อาการลืมเร็วแล้วฟื้นไว มีวิธีเดียวครับคือขยันเขียนโปรแกรมประจุให้ความรู้เข้าไปในหน่วยความจำของสมองมากที่สุด เวลามาฟื้นทีหลังจะฟื้นไว ความจริงเครื่องมือช่วยออกแบบเส้นโครงแผนที่ความคลาดเคลื่อนต่ำ (LDP – Low Distortion Projection) นั้นมีอยู่แล้วใน Surveyor Pocket…

Continue Reading →

ESP32 โครงการ #2 ส่งข้อมูลระดับน้ำ (Tide Station) ขึ้นคลาวด์ ThingSpeak ฟรี

โครงการที่สองยังเป็นโครงการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์เหมือนเดิม ผมเลือกใช้ ESP32 แทนที่จะเป็น Pico W เหมือนโครงการแรก และโปรแกรมด้วยภาษาซี บอร์ด ESP32 ผลิตโดยบริษัท Espressif จากจีนแผ่นดินใหญ่ และในวงการไมโครคอนโทรลเลอร์เองก็ยอมรับว่าไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 ได้รับการออกแบบมาอย่างดี ซีพียูเร็วแกนคู่ กินพลังงานต่ำ มีแรมที่เพียงพอสำหรับการรันโปรแกรมสำหรับงาน iOT…

Continue Reading →

อัพเดท : ปรับปรุงผลการคำนวณแปลงค่าพิกัดโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ให้ละเอียดถึงทศนิยมของมิลลิเมตรด้วย Surveyor Pocket Tools

จากรุ่นก่อนหน้านี้ของ Surveyor Pocket Tools นั้นสามารถแปลงค่าพิกัดในระบบ The First Construction Coordinate System ได้อย่างไม่มีปัญหา แต่ความละเอียดจะถูกลดทอนลง 3-4 มม. เมื่อใช้คำนวณ The Third Construction Coordinate System…

Continue Reading →

มหาเทพ HP Prime G2 ตอนโปรแกรมคำนวณโค้งดิ่ง (Vertical Curve)

บทความเครื่องคิดเลข HP Prime G2 นับเป็นบทความที่ 3 จากโค้งราบ (Horizontal Curve) มาสู่โค้งสไปรัล (Spiral Curve) และในบทความนี้จะมาปิดที่โค้งดิ่ง (Vertical Curve) สำหรับโค้งทั้งหลายเหล่านี้นำมาประยุกต์ใช้กับงานถนน, รถไฟ และรถไฟฟ้า โค้งดิ่ง (Vertical…

Continue Reading →

ปฐมฤกษ์โปรแกรมแรกบนเครื่องคิดเลขเทพเหนือเทพ HP Prime G2 (Horizontal Curve)

หนึ่งเดือนที่ผมจับเครื่องคิดเลขเอชพี ไพรม์ รุ่นจีทู ราคาแปดพันห้าร้อยบาทนับว่าเป็นเครื่องคิดเลขที่ราคาสูงที่สุดที่ผมเคยเป็นเจ้าของมา มีฟังก์ชั่นเยอะมาก วาดกราฟสามมิติได้ แต่ผมไม่ได้ใช้ จะไม่ขอพูดถึง สถาปัตยกรรมใช้ซีพียูแกน ARM Cortex A7 ความเร็ว 528 MHz มีแรม 256 MB และแฟลชรอม 512 MB หน้าจอแสดงผลขนาด…

Continue Reading →

ไพทอนบนเครื่องคิดเลข Casio fx-cg50 Prizm กลับมาวิ่งฉิวเป็นเทพแล้ว

สองปีที่แล้วพอดีผมถอยเครื่องคิดเลขคาสิโอ fx-cg50 Prizm เพราะว่าสนับสนุนภาษาไพทอน อยากลองเขียนไพทอนบนเครื่องคิดเลขดู แต่เนื่องจากไพทอนไม่สามารถเรียกใช้ฟังก์ชั่นในเครื่องคิดเลขต่างๆ เช่นฟังก์ชั่นวาดรูป ฟังก์ชั่นการพล็อทกราฟ คาสิโอเองก็รีบเอาไพทอนมาลงเครื่องคิดเลขเร็วเกินไป ผมเอามาทำที่ทับกระดาษเล่นๆ จนกระทั่งสองปีให้หลังจนบัดนี้ (10 กันยายน 2020) ทางคาสิโอเพิ่งอัพเดทโอเอสของเครื่องคิดเลขจากรุ่น 3.30 มาเป็น 3.40 และได้เพิ่มฟังก์ชั่นการวาดรูปให้กับเครื่องคิดเลขรุ่นนี้ มาลองดูว่าอัพเดทแล้วมีอะไรบ้าง…

Continue Reading →

แปลงรูปแบบไฟล์แบบจำลองความสูงจีออยด์ TGM2017 เป็น GFF เพื่อใช้ในโปรแกรม Magnet และอุปกรณ์ของ Topcon

ในเมื่อต่อยอดแล้วคงเอาให้สุดๆ ตอนที่แล้วผมแปลงไฟล์แบบจำลองความสูงจีออยด์ TGM2017 จากต้นฉบับ (เครดิด: จัดทำโดยทีมงานดร.พุทธิพล ดำรงชัยและคณะ) เป็นรูปแบบ Lieca GEM เพื่อใช้ในโปรแกรม SKI-Pro & LGO ตอนนี้ที่คิดได้ยังมีอุปกรณ์ค่าย Sokkia & Topcon ที่ยังไม่ได้จัดทำ เหมือนเดิมคือไม่สามารถหารูปแบบไฟล์…

Continue Reading →

อัพเดท: คำนวณแปลงพิกัดในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ด้วยโปรแกรมรวมเครื่องมือฉบับกระเป๋าสำหรับช่างสำรวจ (Surveyor Pocket Tools)

จากบทความที่แล้ว ผมได้พาย้อนรอยไปดูระบบพิกัดที่ใช้ในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน และทางดร.ไพศาล ได้มาไขความกระจ่างว่าวิธีการออกแบบในโครงการนี้เป็นการขยายรูปทรงรีแบบอัตราส่วน (Scale reference ellipsoid) ตามค่าความสูง project plane ที่ทางผู้ออกแบบโครงการนี้ให้มา โดยที่ค่า K0 = 1.0 เป็นค่าคงที่ พร้อมได้เอื้อเฟื้อโค้ดไพทอนสำหรับการแปลงค่าพิกัดมาให้ดูเป็นตัวอย่าง ผมขอขอบคุณมา ณ ที่นี้เป็นอย่างสูง…

Continue Reading →

พอร์ท:โปรแกรมเขียนแบบรูปตัด (XSection Plot) มาใช้บนแมคโอเอส

โปรแกรมเขียนแบบรูปตัด (XSection Plot) นับว่าเป็นโปรแกรมลำดับที่สามที่ผมพอร์ทมาใช้บนแมคโอเอส ถัดจาก Traverse Pro และ Surveyor Pocket Tools ติดตามบทความเดิมได้ด้านล่าง XSection Plot พัฒนาด้วยภาษาไพทอน (Python) กราฟฟิคติดต่อผู้ใช้ใช้ PySide2 (Qt for…

Continue Reading →

ย้อนรอยเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน

ผมได้เสนอบทความไปหลายตอนเรื่องเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ ทั้งความเป็นมา ประโยชน์ ตลอดจนการคำนวณสร้างเส้นโครงแผนที่ มาดูตัวอย่างการใช้งานจริงๆในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ว่าทางผู้ออกแบบได้มีการวางแผนสร้างเส้นโครงแผนที่นี้อย่างไร นำมาใช้อย่างไรบ้าง ก็ขออนุญาตนำเอกสารบางส่วนในโครงการนี้มาเผยแพร่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบพิกัดเส้นโครงแผนที่เท่านั้น โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (กรุงเทพฯ – นครราชสีมา) ระบบพิกัดแผนที่ ทางผู้ออกแบบได้แบ่งเป็นสองระบบคือ WGS-UTM (Drawing) เป็นระบบพิกัดยูทีเอ็มใช้พื้นหลักฐาน WGS84 Zone…

Continue Reading →