ย้อนไปสู่พื้นฐานงานสำรวจ (Back to the basic) ผมเคยบอกกันไว้ในบล็อกในบทความก่อนหน้านี้ว่าได้พัฒนาแอพพื้นฐานงานสำรวจ ชื่อเดิมที่ตั้งกันมาคือ SuperCOGO จากนั้นเปลี่ยนชื่อเป็น SurveyStar COGO สุดท้ายแล้วเปลี่ยนชื่อมาเป็น SurveyStar Calculator ในที่สุด เพราะว่าตัวแอพเองมีมากกว่า COGO ภาษาและเครื่องมือพัฒนาโปรแกรม (Dart &…
กำเนิดคำว่า “COGO” คำว่า “COGO” เป็นคำย่อรัสพจน์ที่เกิดจากการนำเอาอักษรย่อของชื่อเฉพาะหรือวลีมารวมกัน โดยคำว่า CO คำแรกย่อมาจาก Coordinate คำที่สอง GO ย่อมาจาก Geometry ย้อนไปในราวปี 1950 – 1960 ศาสตราจารย์ชารล์ แอล มิลเลอร์…
เริ่มต้นจากศูนย์ที่ต้นซอยด้วยการพัฒนาแอพด้วยดาร์ทและฟลัตเตอร์ จากที่ยืนหันรีหันขวางแบบยืนงงว่าจะไปทางไหน ตอนนี้ภาษาดาร์ทได้เริ่มซึมซับเข้าสมองมาบ้างแล้ว เริ่มจากคลานตอนนี้พอจะเดินได้แบบเตาะแตะ เคยบอกไปว่าบนฟลัตเตอร์มีไลบรารี Proj4 ชื่อ Proj4Dart แต่มีปัญหาแปลงพิกัดได้คลาดเคลื่อนโดยเฉพาะระบบพิกัดรถไฟความเร็วสูงไทยจีนประมาณ 27 ซม. จนต้องถอยไปตั้งหลักว่าจะเอาไงดีสำหรับการจะใช้ไลบรารี PROJ บนแฟล็ตฟอร์มแอนดรอยด์และไอโอเอส ทางเลือกแรกใช้ปลั๊กอิน “Chaquopy” ทางแรกเท่าที่ลองคือเอาไลบรารีของไพทอนมารันบนฟลัตเตอร์ด้วย plug-in ชื่อ Chaquopy…
ผมได้ติดตามเป็นแฟนของ beeware มาได้ประมาณร่วมๆจะสองปีแล้วครับ beeware เป็นแพล็ตฟอร์มพัฒนาโปรแกรมแบบ cross-platform ที่อ้างว่าสามารถพัฒนาโปรแกรมแบบ desktop ได้ทั้งวินโดส์ ลีนุกซ์และแมคโอเอส รวมไปถึงแอนดรอยด์และไอโอเอส ปกติผมใช้ PySide2 สำหรับโปรแกรมบนเดสค์ท็อปอยู่แล้วเลยไม่รู้สึกตื่นเต้นตรงที่สนับสนุนโปรแกรมบนเดสค์ท็อปเท่าไหร่นัก แต่สำหรับภาษาไพทอนที่จะไปใช้ได้แบบเนทีฟ (native) บนโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์และไอโอเอส ยอมรับว่าตื่นเต้นพอสมควร ความนิยมภาษาไพทอนในปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก เป็นที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเรียนรู้ง่าย…