ย้อนไปสู่พื้นฐานงานสำรวจ (Back to the basic) ผมเคยบอกกันไว้ในบล็อกในบทความก่อนหน้านี้ว่าได้พัฒนาแอพพื้นฐานงานสำรวจ ชื่อเดิมที่ตั้งกันมาคือ SuperCOGO จากนั้นเปลี่ยนชื่อเป็น SurveyStar COGO สุดท้ายแล้วเปลี่ยนชื่อมาเป็น SurveyStar Calculator ในที่สุด เพราะว่าตัวแอพเองมีมากกว่า COGO ภาษาและเครื่องมือพัฒนาโปรแกรม (Dart &…
กำเนิดคำว่า “COGO” คำว่า “COGO” เป็นคำย่อรัสพจน์ที่เกิดจากการนำเอาอักษรย่อของชื่อเฉพาะหรือวลีมารวมกัน โดยคำว่า CO คำแรกย่อมาจาก Coordinate คำที่สอง GO ย่อมาจาก Geometry ย้อนไปในราวปี 1950 – 1960 ศาสตราจารย์ชารล์ แอล มิลเลอร์…
จะถือว่าเป็นตอนที่สองต่อจาก Dart & Flutter : เส้นทางขวากหนามกับไลบรารี PROJ แบบเนทีฟ ก็ได้ครับ หลังที่ผมปล้ำไลบรารี PROJ แบบเนทีฟตั้งแต่เขาซอร์สโค้ดภาษา C/C++ มาคอมไพล์ให้เป็นสถาปัตยกรรม Arm บนแอนดรอยด์ ไม่ง่ายครับประมาณเดินผ่านขวากหนามพอได้เลือดซิบๆ ตอนนี้มาถึงความโหดของการนำซอร์สโค้ดชุดเดียวกันมาคอมไพล์ให้เป็นสถาปัตยกรรม Arm เช่นเดียวกันแต่ไปรันบน…
เริ่มต้นจากศูนย์ที่ต้นซอยด้วยการพัฒนาแอพด้วยดาร์ทและฟลัตเตอร์ จากที่ยืนหันรีหันขวางแบบยืนงงว่าจะไปทางไหน ตอนนี้ภาษาดาร์ทได้เริ่มซึมซับเข้าสมองมาบ้างแล้ว เริ่มจากคลานตอนนี้พอจะเดินได้แบบเตาะแตะ เคยบอกไปว่าบนฟลัตเตอร์มีไลบรารี Proj4 ชื่อ Proj4Dart แต่มีปัญหาแปลงพิกัดได้คลาดเคลื่อนโดยเฉพาะระบบพิกัดรถไฟความเร็วสูงไทยจีนประมาณ 27 ซม. จนต้องถอยไปตั้งหลักว่าจะเอาไงดีสำหรับการจะใช้ไลบรารี PROJ บนแฟล็ตฟอร์มแอนดรอยด์และไอโอเอส ทางเลือกแรกใช้ปลั๊กอิน “Chaquopy” ทางแรกเท่าที่ลองคือเอาไลบรารีของไพทอนมารันบนฟลัตเตอร์ด้วย plug-in ชื่อ Chaquopy…
ภาษาดาร์ท (Dart) ดาร์ท (Dart) เป็นภาษาที่อายุอานามประมาณบวกลบ 10 ปีได้ถือว่าเป็นภาษาโปรแกรมมิ่งที่ใหม่มาก ที่ประมวลเอาข้อดีของโปรแกรมรุ่นเก่าทั้งหลายทั้งมวล ส่วนฟลัตเตอร์ (Flutter) คือเฟรมเวิร์คสำหรับพัฒนาโปรแกรมแบบ cross platform ของกูเกิ้ลที่เขียนโค้ดครั้งเดียวสามารถนำไปรันได้ทั้ง วินโดส์ แมคโอเอส ลีนุกซ์ รวมทั้ง iOS และแอนดรอยด์ด้วย…