ปฐมฤกษ์โปรแกรมเดสก์ท็อปภาษา Rust ด้วย Slint

หลังจากที่ได้ศึกษาภาษา Rust ในสามเดือน สี่เดือนที่ผ่านมาอย่างเอาจริงเอาจัง ถึงแม้จะรู้สึกว่ายากแต่ก็ฟันฝ่าจนจบหลักสูตรทั้งอ่านหนังสือ Rust Language Book และดูคลิปยูทูปเพื่อศึกษาและทบทวนจำนวน 14 ชั่วโมง แต่ดูจริงๆวันละไม่เกิน 30 นาทีหรือน้อยกว่านั้นเพราะต้องทดลองทำโจทย์ตามผู้สอนด้วย จบหลักสูตรยูทูปประมาณเดือนหนึ่งเต็มๆ โดยเฉพาะการดูคลิปนี้สอนได้ดีมาก ค่อยๆสอนไปอย่างไม่รีบร้อน อธิบายได้ละเอียดจนอะไรที่สงสัยตอนอ่านหนังสือก็มากระจ่างจากการดูคลิปนี้ การอ่านหนังสือเหมือนได้ทฤษฎีมาเปล่าๆ การลงมือปฏิบัติคือเป็นการบูรณาการว่าความรู้ที่ได้มานั้นเพียงพอจะเขียนโปรแกรมหนึ่งหรือไม่อย่างไร…

Continue Reading →

ทดสอบเขียนโปรแกรมไพทอน (Python) บนเครื่องคิดเลข Casio fx-cg50 Prizm

ไพทอนบนเครื่องคิดเลข ช่วงนี้ผมมีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับภาคสนาม ทำให้มีโอกาสได้จับและใช้เครื่องคิดเลขมากกว่าปกติ ในเวลาที่ผ่านมาไม่ถึงเดือนผมได้ซื้อเครื่องคิดเลข Casio fx-CG50 Prizm เคสสีขาว ที่ซื้อมาเพราะทราบว่าถ้า update OS เป็นรุ่น 3.20 จะสามารถใช้ ไพทอน (Python) ได้ ก็ขอหมายเหตุสักนิดว่าเป็นไมโครไพทอน (Micropython) ที่ทางทีมงาน…

Continue Reading →

Update: โปรแกรมแปลงค่าพิกัดภูมิศาสตร์ Geographic Calculator (GeoCalc) บนเครื่องคิดเลข Casio fx-9860G II SD

Geographic Calculator สืบเนื่องจากตอนก่อนหน้านี้ผมได้นำเสนอโปรแกรมแปลงพิกัด Geographic Calculator แบบไม่ได้ใช้ไลบรารีช่วยเรื่อง User Interface โปรแกรมมีลักษณะง่ายๆ เปิดมาเจอเมนูเลือกลักษณะที่จะคำนวณ จากนั้นโปรแกรมจะถามค่าพิกัดที่ต้องการแปลงแล้วคำนวณให้ ข้อดีคือใช้ง่าย ข้อเสียถ้าป้อนข้อมูลผิดพลาด จะย้อนกลับไม่ได้ ต้องเดินหน้าผิดไปจนจบ แล้วค่อยย้อนกลับมาอีกที เปลี่ยนรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้ด้วยไลบรารี MyLib ไลบรารี MyLib…

Continue Reading →

แนะนำโปรแกรมมิ่งภาษาซีบนเครื่องคิดเลข Casio fx-9860G II SD ด้วยเครื่องมือพัฒนา SDK ของ Casio

เคยเกริ่นมาก่อนว่าต้องการเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อวงการศึกษาบ้านเราที่สนใจเรื่องโปรแกรมมิ่งบนเครื่องคิดเลขสามารถจะพัฒนาโปรแกรมภาษาซีบน Casio fx-9860G II SD หรือรุ่นที่ใกล้เคียงนี้ได้ โดยที่มีไม่มีข้อจำกัดด้านภาษาโปรแกรมมิ่ง เหมือนกับภาษา casio basic อาจจะส่งผลให้ในอนาคต มีโปรแกรมที่พัฒนาโดยบุคคลากรท่านอื่นๆ เข้ามาสู่วงการนี้มากขึ้น และได้ตัวโปรแกรมงานสำรวจที่มีความหลากหลายและความสามารถมากขึ้นทั้งนี้เพื่อขยายขีดความสามารถโปรแกรมบนเครื่องคิดเลขให้สามารถคิดงานที่ยาก ซับซ้อนได้ บางครั้งเกือบจะเทียบเท่าโปรแกรมที่ใช้งานบนคอมพิวเตอร์ เครื่องมือพัฒนา Software Development Kit (SDK)…

Continue Reading →

ติดปีกเครื่องคิดเลขเทพ Casio fx 9860G II SD ด้วยโปรแกรมภาษาซีบน AddIn ตอนที่ 1 โปรแกรมแปลงพิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Calc)

รอคอยมานานแต่ไม่รู้ว่าสิ่งที่รอคอยมันคืออะไร สำหรับคนที่เคยเขียนโปรแกรมลงเครื่องคิดเลขคาสิโอ ถ้าเคยเขียนโปรแกรมมิ่งบนระบบใหญ่ๆมาก่อนเช่นจาวา ซี หรือไพทอน จะรู้สึกว่าโดนมัดมือมัดเท้าทำอะไรไม่ถนัด ภาษาเบสิคของคาสิโอ (basic casio) ก็ดูจะหน่อมแน๊ม ตัวแปรก็จำกัดไม่กี่ตัว เมมโมรีสำหรับเก็บโปรแกรมก็น้อยนิดเดียว เขียนฟังก์ชั่นก็ไม่ถนัด ก็เลยได้แต่โปรแกรมอะไรที่ง่ายๆ ใช้ตัวแปรไม่มาก  แต่ไม่นานที่ผ่านมา เผอิญไปค้นหาในอินเทอร์เน็ต โดยที่หาโปรแกรมแบบ basic casio…

Continue Reading →

การเขียนโปรแกรมคำนวณการแปลงค่าพิกัดระหว่าง UTM Grid และ Geographic (Lat/Long) ด้วย Lazarus และ Delphi (ตอนที่ 3)

จากตอนที่ 2 จะเห็นโค๊ดที่ผม post 2 unit คือ GeoEllipsoids.pas และ GeoCompute.pas ถ้าสนใจก็ copy ไปวางที่ Text Editor แล้ว Save ชื่อไฟล์ตามที่ผม เราจะเริ่มต้นสร้าง New…

Continue Reading →

การเขียนโปรแกรมคำนวณการแปลงค่าพิกัดระหว่าง UTM Grid และ Geographic (Lat/Long) ด้วย Lazarus และ Delphi (ตอนที่ 2)

สูตรที่ใช้ในการคำนวณ ผมอ้างอิงมาจาก http://www.uwgb.edu/dutchs/UsefulData/UTMFormulas.htm เขียนโดย Steve Dutch กล่าวถึงสูตรที่นำมาใช้คำนวณแปลงค่าพิกัด โดยอ้างถึง U.S. Army Corps of Engineer และ USGS (U.S. Geological Survey Professional) ถ้าเป็นการแปลงจาก…

Continue Reading →

การเขียนโปรแกรมคำนวณการแปลงค่าพิกัดระหว่าง UTM Grid และ Geographic (Lat/Long) ด้วย Lazarus และ Delphi (ตอนที่ 1)

ตัวอย่างโปรแกรมแปลงค่าพิกัด GeoCalc และ GeoTrans ผู้ใช้งานด้าน GIS และคนที่ทำงานด้านสำรวจ (Surveying) คงหลีกหนีการแปลงพิกัดระหว่าง UTM Grid และ Geographic (Latitude, Longitude) ได้ยาก ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงได้แก่ ใช้โปรแกรมแปลงพิกัดเช่น GeoCalc…

Continue Reading →