ผมทิ้งช่วงเรื่องการออกแบบและประยุกต์ใช้เส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำเป็นระยะเวลาเนิ่นนานพอสมควรเนื่องจากติดภารกิจไปทำงานต่างประเทศที่หาเวลาว่างนานๆได้ยาก ถ้าผู้อ่านไม่ได้ติดตามเรื่องนี้ตั้งแต่ต้นขอให้กลับไปอ่านหรือศึกษาได้ตามลิ๊งค์ตังต่อไปนี้ แนะนำการใช้เส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ (Low Distortion Projection) และ การออกแบบเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ (Low Distortion Projection) ตอนที่ 1 เรื่องเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย แต่ในต่างประเทศบางประเทศได้ประยุกต์ใช้งานมานานแล้ว ประโยชน์ของเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำเมื่อประยุกต์ใช้แล้วคือ ความต่างระหว่าง Ground Distance และ…
ในตอนที่แล้วได้เกริ่นไปเรื่องเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ ที่จะออกแบบประยุกต์มาใช้งานเพื่อให้ผู้ที่ออกแบบโครงการก่อสร้างบนระนาบพิกัดฉากตัวนี้สามารถทำได้ง่าย ไม่ต้องกังวลกับเรื่อง scale factor คือแบบที่ออกแบบบนระบบพิกัดฉากยาวเท่าไหร่เมื่อก่อสร้างแล้วไปวัดในสนามต้องได้เกือบเท่ากัน (แต่ต่างก้นน้อยมากๆ) และที่สำคัญที่สุดคือช่วงก่อสร้าง ช่างสำรวจสามารถวางผัง (Setting out หรือ Layout) โดยที่ไม่ต้องใช้สเกลแฟคเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะสเกลแฟคเตอร์ที่ได้จากเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำจะมีค่าใกล้กับ 1.0 มากๆ จนสามารถละเลยไปได้ เครื่องมือช่วยในการออกแบบเส้นโครงแผนที่ต่ำ ผมเขียนทูลส์ตัวเล็กๆไว้ชื่อ…
Low Distortion Projection คืออะไร เส้นโครงแผนที่ทุกอันจะมีความเพี้ยน (distortion) เป็นความจริงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ความเพี้ยนนี้ก็คือระยะทางที่ต่างกันระหว่างวัดจริงๆของจุดสองจุดบนพื้นผิวภูมิประเทศของโลกกับระยะทางที่ได้จากแผนที่ ความเพื้ยนนี้จะมีความสลักสำคัญอย่างมาก ดังตัวอย่างเช่นที่ผมได้กล่าวไปแล้วใน ตอนก่อนหน้านี้ ที่ค่าความเพื้ยนมากถึง ±823 ppm (ระยะทาง 1 กม. จะมีความเพี้ยนถึง 823 มม. หรือ 82.3 ซม.)…
ทดสอบข้อมูลค่าพิกัดรูปปิดบนพื้นหลักฐาน Indian 1975 ขอพูดเกี่ยวกับ work flow สักนิด เมื่ออ่านไฟล์รูปปิดจากไฟล์ CSV มาแล้ว โปรแกรมจะคำนวณหาจุด centroid หรือจุดศูนย์ถ่วงของพื้นที่ แล้วจะแปลงพิกัดเป็นค่าพิกัดในพื้นหลักฐาน WGS84 ทั้งค่าพิกัดของรูปปิดและจุดศูนย์ถ่วงด้วย จากนั้นโปรแกรมจะสร้างเส้นโครงแผนที่ Lambert Azimuthal Equal Area โดยการใช้จุดศูนย์ถ่วงเป็น…
คำนวณพื้นที่ polygon จากไฟล์ในระบบพิกัดฉาก UTM ตอนแรกได้สาธยายเรื่อง Scale factor ของเส้นโครงแผนที่ที่มีผลต่อการรังวัดของช่างสำรวจไปแบบพอหอมปากหอมคอ และท้ายสุดได้ใช้โปรแกรมเปิดไฟล์ CSV ที่เก็บค่าพิกัดแบบภูมิศาสตร์ของรูปปิด polygon คำนวณหาพื้นที่บนระนาบ UTM และพื้นที่บนทรงรี ก็เห็นไปแล้วว่าสองพื้นที่นี้มีความแตกต่างกัน เพราะสืบเนื่องจาก Scale factor เบื้องหลังการทำงานของโปรแกรมก็คือ…
ตอนที่ 1 ผมได้แนะนำโปรแกรมย่อย UTM – Geo Converter สำหรับแปลงพิกัดบนพื้นหลักฐาน WGS84 มาถึงตอนนี้จะมาดูโปรแกรมแปลงพิกัดข้ามพื้นหลักฐาน (datum) กันว่าเป็นอย่างไร จากรูปด้านล่าง ดับเบิ้ลคลิกที่โปรแกรมที่สอง “Transform Coordinates“ เปิดโปรแกรมมาจะมีช่อง input/output ด้านซ้ายและด้านขวา ตรงกลางจะมีไอคอนลูกศรแสดงการแปลงพิกัดจากซ้ายไปขวาหรือจากขวามาซ้ายก็ได้…