นานมากแล้วไม่ได้จับภาษาไพทอนอีกเลยเกือบจะร่วมๆสองปีแล้ว เพราะผมใช้เวลาว่างพัฒนาแอพด้วย Dart/Flutter ส่วนใหญ่ขลุกอยู่กับภาษาดาร์ทตลอดมาสองปี ไม่นานมานี้ได้กลับมาใช้ไพทอนอีกครั้ง นั่งงงกับโค้ดไพทอนที่เขียนไว้ว่าตัวเองมาทำอะไรที่นี่ สักพักใหญ่ๆค่อยๆรื้อฟื้นความจำ ในครั้งนี้ใช้ Visual Studio Code (VS Code) เพื่อแก้ไขโค้ดโปรแกรมแทนเดิมๆที่เคยใช้ Pycharm เพราะหลังจากใช้ VS Code ในการพัฒนาแอพด้วยภาษาดาร์ททำให้ติดใจ ชอบในความเบาและรองรับได้หลากหลายภาษามาก…
ตามสมัยนิยมก็ต้องมีธีมมีดว่ากันว่าช่วยกันประหยัดพลังงานของหน้าจอแบบ OLED และถนอมสายตาผู้ใช้ รวมทั้งใช้งานได้ดีในบริเวณที่มีแสงน้อย แต่ก็มีบางงานวิจัยกล่าวว่าการอ่านตัวหนังสือบนพื้นดำนานๆก็ทำให้สายตาล้าได้เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม Surveyor Pocket Tools ก็เปิดทางเลือกให้ผู้ใช้สามารถปรับได้ว่าจะเปิดหรือปิดธีมมืด จาก PySide2 สู่ PySide6 ระบบการแสดงผลกราฟฟิค (GUI) จากเดิมที่ผมใช้ PySide2 อิมพลีเมนต์มาจาก Qt5…
จากรุ่นก่อนหน้านี้ของ Surveyor Pocket Tools นั้นสามารถแปลงค่าพิกัดในระบบ The First Construction Coordinate System ได้อย่างไม่มีปัญหา แต่ความละเอียดจะถูกลดทอนลง 3-4 มม. เมื่อใช้คำนวณ The Third Construction Coordinate System…
ในเมื่อต่อยอดแล้วคงเอาให้สุดๆ ตอนที่แล้วผมแปลงไฟล์แบบจำลองความสูงจีออยด์ TGM2017 จากต้นฉบับ (เครดิด: จัดทำโดยทีมงานดร.พุทธิพล ดำรงชัยและคณะ) เป็นรูปแบบ Lieca GEM เพื่อใช้ในโปรแกรม SKI-Pro & LGO ตอนนี้ที่คิดได้ยังมีอุปกรณ์ค่าย Sokkia & Topcon ที่ยังไม่ได้จัดทำ เหมือนเดิมคือไม่สามารถหารูปแบบไฟล์…
ที่ผ่านมาผมได้จัดทำรูปแบบไฟล์ TGM2017 จากต้นฉบับเดิมให้มีรูปแบบหลากหลายสามารถนำไปใช้ในโปรแกรมต่างๆ เช่น รูปแบบ GTX, GGF ส่วนรูปแบบ PGM ที่เอื้อเฟื้อจัดทำโดยดร.ไพศาล สันติธรรมนนท์ แต่ก็มีน้องๆทัดทานมาว่ารูปแบบ Leica Geoid Model (GEM) น่าจะยังไม่มีคนจัดทำ Leica Geoid Model…
จากบทความที่แล้ว ผมได้พาย้อนรอยไปดูระบบพิกัดที่ใช้ในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน และทางดร.ไพศาล ได้มาไขความกระจ่างว่าวิธีการออกแบบในโครงการนี้เป็นการขยายรูปทรงรีแบบอัตราส่วน (Scale reference ellipsoid) ตามค่าความสูง project plane ที่ทางผู้ออกแบบโครงการนี้ให้มา โดยที่ค่า K0 = 1.0 เป็นค่าคงที่ พร้อมได้เอื้อเฟื้อโค้ดไพทอนสำหรับการแปลงค่าพิกัดมาให้ดูเป็นตัวอย่าง ผมขอขอบคุณมา ณ ที่นี้เป็นอย่างสูง…
ผมได้เสนอบทความไปหลายตอนเรื่องเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ ทั้งความเป็นมา ประโยชน์ ตลอดจนการคำนวณสร้างเส้นโครงแผนที่ มาดูตัวอย่างการใช้งานจริงๆในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ว่าทางผู้ออกแบบได้มีการวางแผนสร้างเส้นโครงแผนที่นี้อย่างไร นำมาใช้อย่างไรบ้าง ก็ขออนุญาตนำเอกสารบางส่วนในโครงการนี้มาเผยแพร่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบพิกัดเส้นโครงแผนที่เท่านั้น โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (กรุงเทพฯ – นครราชสีมา) ระบบพิกัดแผนที่ ทางผู้ออกแบบได้แบ่งเป็นสองระบบคือ WGS-UTM (Drawing) เป็นระบบพิกัดยูทีเอ็มใช้พื้นหลักฐาน WGS84 Zone…
สำหรับสถิติการใช้งานระบบปฏิบัติทั้งโลกนี้สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะทั้งพีซีและโน๊ตบุ๊คในปี 2020 วินโดส์ทุกรุ่นประมาณ 79% แมคโอเอสทุกรุ่น 15% ลีินุกซ์ทุกดิสโทร 2% ที่เหลืออื่นๆเช่น ChromeOS เมื่อมามองดูแมคโอเอสก็ไม่ได้น้อยอย่างที่ผมคิด โปรแกรมตัวที่แล้วที่ผมพอร์ทมาใช้งานคือโปรแกรมคำนวณวงรอบ Traverse Pro ที่พัฒนาด้วย Lazarus + Free pascal compiler…
เนื่องจากในเดิมที Surveyor Pocket Tools โปรแกรมเครื่องมือสำหรับช่างสำรวจฉบับกระเป๋าได้ใช้ไลบรารี PROJ รุ่น 4 หรือเรียกสั้นๆว่า PROJ.4 มาโดยตลอด ในช่วงที่ผ่านมาปีที่แล้ว ปี 2018 ทางโครงการ PROJ ได้รปรับปรุงขนานใหญ่จาก PROJ.5 มาเป็น PROJ.6…
วันนี้มาพูดถึงไลบรารี Proj.4 แบบลึกๆกันหน่อย บทความตอนนี้จะเป็นเรื่องโปรแกรมมิ่งนะครับ ไลบรารีตัวนี้ผมใช้เป็นแกนหลักในโปรแกรมรวมเครื่องมือฉบับกระเป๋าสำหรับช่างสำรวจ (Surveyor Pocket Tools) เอามาแปลงพิกัดกับระบบพิกัดที่ใช้กันในโลกนี้ (อาจจะได้ไม่ทั้งหมด) และไม่นานนี้ผมได้นำมาคำนวณ Vertical Datum คือสามารถหาความสูงจีออยด์ได้ ในความเป็นจริงถ้ามี Vertical Grid Shift หลายๆอันสามารถแปลงค่าระดับข้ามไปมาได้แบบที่ใช้ในอเมริกา ก็ใช้มาหลายปีแล้ว…