เริ่มต้นจากศูนย์ที่ต้นซอยด้วยการพัฒนาแอพด้วยดาร์ทและฟลัตเตอร์ จากที่ยืนหันรีหันขวางแบบยืนงงว่าจะไปทางไหน ตอนนี้ภาษาดาร์ทได้เริ่มซึมซับเข้าสมองมาบ้างแล้ว เริ่มจากคลานตอนนี้พอจะเดินได้แบบเตาะแตะ เคยบอกไปว่าบนฟลัตเตอร์มีไลบรารี Proj4 ชื่อ Proj4Dart แต่มีปัญหาแปลงพิกัดได้คลาดเคลื่อนโดยเฉพาะระบบพิกัดรถไฟความเร็วสูงไทยจีนประมาณ 27 ซม. จนต้องถอยไปตั้งหลักว่าจะเอาไงดีสำหรับการจะใช้ไลบรารี PROJ บนแฟล็ตฟอร์มแอนดรอยด์และไอโอเอส ทางเลือกแรกใช้ปลั๊กอิน “Chaquopy” ทางแรกเท่าที่ลองคือเอาไลบรารีของไพทอนมารันบนฟลัตเตอร์ด้วย plug-in ชื่อ Chaquopy…
ภาษาดาร์ท (Dart) ดาร์ท (Dart) เป็นภาษาที่อายุอานามประมาณบวกลบ 10 ปีได้ถือว่าเป็นภาษาโปรแกรมมิ่งที่ใหม่มาก ที่ประมวลเอาข้อดีของโปรแกรมรุ่นเก่าทั้งหลายทั้งมวล ส่วนฟลัตเตอร์ (Flutter) คือเฟรมเวิร์คสำหรับพัฒนาโปรแกรมแบบ cross platform ของกูเกิ้ลที่เขียนโค้ดครั้งเดียวสามารถนำไปรันได้ทั้ง วินโดส์ แมคโอเอส ลีนุกซ์ รวมทั้ง iOS และแอนดรอยด์ด้วย…
จากที่ผมรอคอยโครงการ Beeware มาจะร่วมๆสามปีแล้ว แต่พบว่าความก้าวหน้าของโครงการมีการเคลื่อนไหวน้อยมากเหมือนจะหยุดนิ่งสนิท สำหรับโครงการ Beeware คือโครงการทำเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมข้ามแพล็ตฟอร์มเพื่อให้ผู้ใช้งานพัฒนาซอฟท์แวร์ด้วยภาษาไพธอน ให้สามารถใช้งานได้ทุกแพล็ตฟอร์มอย่างหลากหลายโดยเฉพาะบนโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์และ iOS เป็นโครงการเปิดโค้ด (open-source) ที่อาศัยการระดมทุนเพื่อหาเงินให้โครงการสามารถเดินหน้าต่อไปได้ สำหรับ Kivy framework (ภาษาไทยออกเสียงกีวี เป็นคำพ้องเสียง Kiwi ที่เป็นชื่อผลไม้ชนิดหนึ่ง) ผมได้ศึกษาเบื้องต้นเมื่อเกือบจะสิบปีที่แล้ว…
ผมได้ติดตามเป็นแฟนของ beeware มาได้ประมาณร่วมๆจะสองปีแล้วครับ beeware เป็นแพล็ตฟอร์มพัฒนาโปรแกรมแบบ cross-platform ที่อ้างว่าสามารถพัฒนาโปรแกรมแบบ desktop ได้ทั้งวินโดส์ ลีนุกซ์และแมคโอเอส รวมไปถึงแอนดรอยด์และไอโอเอส ปกติผมใช้ PySide2 สำหรับโปรแกรมบนเดสค์ท็อปอยู่แล้วเลยไม่รู้สึกตื่นเต้นตรงที่สนับสนุนโปรแกรมบนเดสค์ท็อปเท่าไหร่นัก แต่สำหรับภาษาไพทอนที่จะไปใช้ได้แบบเนทีฟ (native) บนโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์และไอโอเอส ยอมรับว่าตื่นเต้นพอสมควร ความนิยมภาษาไพทอนในปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก เป็นที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเรียนรู้ง่าย…