เดโม “อาปาเช่ 4” เรือรีโมทคอนโทรล สำหรับสำรวจหยั่งน้ำ (Bathymetric survey)

ผมมีโอกาสได้ลองเรือ CHCNav รุ่นอาปาเช่ 4 เป็นเรือรีโมทคอนโทรล ทางทีมงานของ CHCNav มาเดโมให้ดู ส่วนผมเป็นผู้สังเกตุการณ์ด้านข้าง วันนี้จะมาพูดคุยถึงแง่มุมเรือรีโมทในมุมมองของผมที่ทำมาหากินในด้าน hydrographic survey มาหลายสิบๆปี ส่วนใหญ่งานก่อสร้างทางทะเลที่ผมทำงานอยู่ด้วยน้อยนักที่จะเจอทะเลเรียบยิ่งหน้ามรสุมไม่ต้องพูดถึงคลื่นแรงลมแรงและบางทีมีฝนตกหนักด้วย วันนี้สถานที่วิ่งเรือสำรวจด้วยอาปาเช่ 4 จะเป็นพื้นที่พิเศษเป็นพื้นที่ทางทะเลแต่คลื่นเรียบเนื่องจากพื้นที่ที่จะมาเดโมเรือจะเป็นพื้นที่ก่อสร้างถมทะเล ที่ตอนนี้ได้สร้างเขื่อนหินเป็นแกนล้อมรอบพื้นที่ที่จะถมทะเลในส่วนแกนหินนี้จะบดบังคลื่นจากธรรมชาติที่จะเข้ามาในพื้นที่นี้ทำให้พื้นผิวน้ำเรียบเหมือนทะเลสาบ ความลึกเฉลี่ยของน้ำทะเลประมาณอยู่ประมาณ 5…

Continue Reading →

บิน DJI Mini 3 Pro ทำแผนที่ด้วย Dronelink

ลงทะเบียนกับ DroneLink และจ่ายเงินค่าบริการ จากที่ SDK (Software Development Kit) ของ DJI ปล่อยมาไม่นาน Dronelink เป็นเสือปืนไว ปล่อยแอพรุ่นเบต้ามาให้ทดลองได้ก่อนเพื่อน ทำให้ผมตัดสินซื้อแพ็คเกจแบบงานอดิเรก (Hobbyist) ไป 49.99 US$ ถ้าสมมุติไม่ล้มหายตายจากกัน…

Continue Reading →

เมียงมองหาโดรนราคาถูกสำหรับงาน Photogrammetry

ตลาดของโดรนถ่ายภาพ ปัจจุบันตลาดของโดรนถ่ายรูปถ่ายวิดีโอได้แยกเป็นสามตลาดใหญ่ (ตามทัศนะของผมเองครับ) แยกเป็น คอนซูเมอร์ (Consumer) ที่เป็นของผู้ใช้ส่วนใหญ่ที่เน้นสันทนาการถ่ายรูป ถ่ายวีดีโอ อีกตลาดของคือพรีเมียม (Premium) ที่เป็นของผู้ใช้เฉพาะทางเช่นการถ่ายรูป ถ่ายวีดีโอที่มือโปรมากยิ่งขึ้น ตัวที่กำหนดคือราคา ราคาของ consumer จะอยู่ที่ประมาณ 10000 – 50000 บาท…

Continue Reading →

Sound Velocity Profiler (SVP) นั้นสำคัญไฉนกับงาน Bathymetric Survey

ในงานสำรวจหยั่งน้ำ Bathymetric survey ที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง ซึ่งบางงานต้องการ Accuracy ถึงระดับหลักเซนติเมตร งานก่อสร้างทางทะเลเช่นงานถมทะเล (Reclamation) ตลอดจนงานขุดลอก (Dredging) โดยเฉพาะงานขุดลอกถ้าเป็นงานใหญ่ๆระดับปริมาณขุดลอกเป็นล้านคิวขึ้นไป หรือถ้าปริมาณขุดลอกระดับสิบล้านคิวถือว่าเป็นงานใหญ่มากและซีเรียสเรื่อง Accuracy พอสมควร ความเร็วเสียงในน้ำ (Sound Velocity) โจทย์ก็คือจะทำอย่างไรให้งานสำรวจหยั่งน้ำได้ความถูกต้องขนาดนี้ สำหรับเครื่อง…

Continue Reading →

เปิดตัวแอพ “Ezy Geo Pro” บนไอโอเอส

คล้อยหลังการปล่อยแอพ Ezy Geo Pro บนแอนดรอยด์ได้หนึ่งเดือนกว่าๆ และแล้วผมก็พบกับความวิบากเลย สำหรับการเข็นแอพให้ผ่านการรีวิวจากแอปเปิ้ลสโตร์ มีทั้งหยุมหยิมและเรื่องใหญ่ เรื่องใหญ่ๆเช่นจะต้องมี Priavy policy จะต้องมี Term of use ให้ผู้ใช้อ่านได้สะดวก ต้องมีข้อความเตือนผู้ใช้ก่อนจะกด subscribe ผมส่งไปประมาณ 8…

Continue Reading →

เปิดตัวแอพแรก “Ezy Geo Pro” บนแอนดรอยด์

เปลี่ยนชื่อแอพ ในที่สุดผมก็เข็นครกดันเอาแอพรุ่นแรกสำหรับแอนดรอยด์ออกมาได้สำเร็จ “Ezy Geo Pro” เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2023 ที่ผ่านมาก ตัวแอพผ่านการเปลี่ยนชื่อมาแล้วหลายครั้งจาก “Thai Easy Geo” เป็น “A Ezy Geo” สุดท้ายเป็น “Ezy…

Continue Reading →

Dart&Flutter: ตกหลุมขวากกับไลบรารี PROJ แบบเนทีฟบน iOS

จะถือว่าเป็นตอนที่สองต่อจาก Dart & Flutter : เส้นทางขวากหนามกับไลบรารี PROJ แบบเนทีฟ ก็ได้ครับ หลังที่ผมปล้ำไลบรารี PROJ แบบเนทีฟตั้งแต่เขาซอร์สโค้ดภาษา C/C++ มาคอมไพล์ให้เป็นสถาปัตยกรรม Arm บนแอนดรอยด์ ไม่ง่ายครับประมาณเดินผ่านขวากหนามพอได้เลือดซิบๆ ตอนนี้มาถึงความโหดของการนำซอร์สโค้ดชุดเดียวกันมาคอมไพล์ให้เป็นสถาปัตยกรรม Arm เช่นเดียวกันแต่ไปรันบน…

Continue Reading →

Dart & Flutter : เส้นทางขวากหนามกับไลบรารี PROJ แบบเนทีฟบนแอนดรอยด์

เริ่มต้นจากศูนย์ที่ต้นซอยด้วยการพัฒนาแอพด้วยดาร์ทและฟลัตเตอร์ จากที่ยืนหันรีหันขวางแบบยืนงงว่าจะไปทางไหน ตอนนี้ภาษาดาร์ทได้เริ่มซึมซับเข้าสมองมาบ้างแล้ว เริ่มจากคลานตอนนี้พอจะเดินได้แบบเตาะแตะ เคยบอกไปว่าบนฟลัตเตอร์มีไลบรารี Proj4 ชื่อ Proj4Dart แต่มีปัญหาแปลงพิกัดได้คลาดเคลื่อนโดยเฉพาะระบบพิกัดรถไฟความเร็วสูงไทยจีนประมาณ 27 ซม. จนต้องถอยไปตั้งหลักว่าจะเอาไงดีสำหรับการจะใช้ไลบรารี PROJ บนแฟล็ตฟอร์มแอนดรอยด์และไอโอเอส ทางเลือกแรกใช้ปลั๊กอิน “Chaquopy” ทางแรกเท่าที่ลองคือเอาไลบรารีของไพทอนมารันบนฟลัตเตอร์ด้วย plug-in ชื่อ Chaquopy…

Continue Reading →

ประสบการณ์ติดตั้งสถานีวัดระดับน้ำเฉพาะกิจ (Automatic Tide Gauge)

ในงานก่อสร้างทางทะเลที่ผมทำอยู่ปัจจุบัน ในสัญญาระบุว่าต้องติดตั้งสถานีวัดระดับน้ำให้ด้วยเป็นแบบ Automatic Tide Gauge คือสามารถวัดระดับน้ำและบันทึกข้อมูลลงจัดเก็บในไฟล์คือเก็บเข้า sd card ได้ทุก 15 นาที ข้อกำหนดว่าไว้อย่างนั้น บรรทัดน้ำ ด้วยความที่ไม่เคยติดตั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์ด้านนี้มาก่อน ก่อนหน้านี้เป็นผู้ใช้งานอย่างเดียว ถ้าจะติดตั้งใช้งานเองประมาณว่าใช้ไม้หน้าสี่ทาสีแล้วพ่นสีสเปรย์ เรียกกันว่าไม้บรรทัดน้ำ โดยที่รูปแบบคล้ายๆกับสตาฟที่อ่านในงานระดับ ตอนติดตั้งก็เดินระดับจากหมุดที่ทราบค่าลงผิวน้ำ ติดตั้งบรรทัดน้ำให้ตรึงอยู่กับที่ไม่ให้เคลื่อนไหว…

Continue Reading →

เมื่อคลื่นลมแปรปรวน กับการใช้ Emlid RS2 บนความสูงโพล 15 เมตร

พื้นฐานดั้งเดิมของผมคือทำงานมารีนมาโดยตลอด สลับกับการทำงานบนบกบ้างเป็นบางคราว ครั้งนี้ไปทำงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าที่บังคลาเทศประมาณ 5 ปี ก็ได้หวนกลับสู่งานมารีนอีกคราคืองานก่อสร้างทางทะเลเป็นงานก่อสร้างเขื่อนกับคลื่นและทราย เป็นงานระดับเมกะโปรเจคโครงการหนึ่งทีเดียว เดือนสิงหาคม-ตุลาคมเป็นเดือนแห่งฤดูมรสุมที่คลื่นลมแรงจัด เนื่องจากเรือสำรวจเป็นเรือที่มีขนาดเล็กกินน้ำประมาณ 2.8 เมตร สภาพเรือเป็นเรือทำงาน (working boat) โครงสร้างเหล็กทั้งลำมาดัดแปลงเป็นเรือสำรวจ พอคลื่นลมแรงก็เป็นปัญหาไม่สามารถออกทำงานได้ด้วยอันตรายจากคลื่นสูงอาจจะทำให้เรือพลิกคว่ำได้ สำหรับบทความนี้ก็ขอเล่าประสบการณ์เซอร์เวย์ ที่ไม่เคยทำมาก่อนเป็นงานมารีน สำหรับงานสเป็คในงานสำรวจทางทะเลนั้นทั่วๆไปจะยอมให้ค่าความคลาดเคลื่อนได้สูงกว่างานบก เนื่องจากลักษณะส่วนใหญ่เป็นงานใต้น้ำ…

Continue Reading →