ไม่นานมานี้มีผมดาวน์โหลดไฟล์โปรแกรมและข้อมูลของ TGM2017 เรียกเต็มๆคือ Thailand Geoid Model 2017 ที่เป็นโครงการร่วมมือจากหลายๆฝ่ายของทางราชการ ผมยังไม่มีโอกาสได้นำไปใช้งาน โดยเฉพาะจะนำมาประยุกต์ใช้ในงานรังวัด GNSS ถือว่าเป็นสิ่งที่พวกเรารอคอยมานานที่จะได้มี local geoid model มาใช้งานกัน โดยเฉพาะงานรังวัด GNSS เมื่อคำนวณแล้วจะได้ค่าพิกัดทางราบ และทางดิ่งจะได้ความสูง…
ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2018 ที่ผ่านมา ถ้าผู้ใช้ใช้งาน Surveyor Pocket Tools ลองปักหมุดผ่านโปรแกรมนี้ จะเห็นว่าจอดับแสดงข้อความว่า “For development purpose only” เพราะว่ากูเกิ้ลเปลี่ยนมาเก็บเงินผู้ใช้โดยเฉพาะผู้พัฒนาโปรแกรม โดยที่ผู้พัฒนาจะต้องขอ API Key จากทางกูเกิ้ลก่อน…
ผมกลับมาอัพเดทโปรแกรมคำนวณวงรอบ Traverse Pro อีกครั้งหลังจากรุ่นล่าสุดคือรุ่น 2.63 ที่ทิ้งไว้หลายปี ก็ถือโอกาสมาปรับปรุงเพื่อฉลองครบรอบวันเกิดโปรแกรมนี้ 20 ปี ซึ่งเริ่มพัฒนาเมื่อปี 1999 ด้วย Delphi ในขณะนั้น ก่อนที่จะย้ายมาพัฒนาด้วย free pascal + Lazarus ในภายหลัง…
ไพทอนบนเครื่องคิดเลข ช่วงนี้ผมมีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับภาคสนาม ทำให้มีโอกาสได้จับและใช้เครื่องคิดเลขมากกว่าปกติ ในเวลาที่ผ่านมาไม่ถึงเดือนผมได้ซื้อเครื่องคิดเลข Casio fx-CG50 Prizm เคสสีขาว ที่ซื้อมาเพราะทราบว่าถ้า update OS เป็นรุ่น 3.20 จะสามารถใช้ ไพทอน (Python) ได้ ก็ขอหมายเหตุสักนิดว่าเป็นไมโครไพทอน (Micropython) ที่ทางทีมงาน…
ตั้งสมการ Observation Equation ขอทบทวน ค่า aik, bik เรียกว่า direction coefficients และ cik, dik เรียกว่า distance coefficients ในกรณีวัดมุมเล็งสกัดย้อนจากสมการด้านบนและเอาแทนที่ในสมการด้านล่าง เขียนให้ดูง่ายดังนี้ zi คือค่าอะซิมัทเริ่มต้น…
จากที่เขียนโปรแกรมสำหรับเครื่องคิดเลขคำนวณเล็งสกัดย้อนสำหรับเครื่องคิดเลข Casio fx-9860G II SD ทำให้นึกถึงวิธีการคำนวณแบบ least squares ที่เป็นพื้นฐานเคยร่ำเรียนมา โดยเฉพาะการรังวัดในปัจจุบันที่การรังวัดระยะทางด้วยกล้องประมวลผลรวมทำได้ง่าย เมื่อรวมกับการรังวัดมุม จะทำให้มีค่าเกินหรือ redundant มาคำนวณในวิธีแบบ least square ได้ การรังวัดแบบเล็งสกัดย้อนบางตำราเรียกว่า free station…
ผมเขียนเรื่องการคำนวณเล็งสกัดย้อน (Resection) จากตอนก่อนหน้านี้ด้วยอัลกอริทีมใหม่ของ Josep M. Font-Llagunes อ่านได้ที่ ติดปีกเครื่องคิดเลขเทพ Casio fx 9860G II SD ด้วยโปรแกรมภาษาซีบน AddIn ตอนที่ 5 โปรแกรมคำนวณ Resection ด้วยอัลกอริทึ่มสมัยใหม่ ในตอนนี้ผมจะมาเรียบเรียงโปรแกรมด้วยไลบรารี…
ผมทิ้งช่วงเรื่องการออกแบบและประยุกต์ใช้เส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำเป็นระยะเวลาเนิ่นนานพอสมควรเนื่องจากติดภารกิจไปทำงานต่างประเทศที่หาเวลาว่างนานๆได้ยาก ถ้าผู้อ่านไม่ได้ติดตามเรื่องนี้ตั้งแต่ต้นขอให้กลับไปอ่านหรือศึกษาได้ตามลิ๊งค์ตังต่อไปนี้ แนะนำการใช้เส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ (Low Distortion Projection) และ การออกแบบเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ (Low Distortion Projection) ตอนที่ 1 เรื่องเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย แต่ในต่างประเทศบางประเทศได้ประยุกต์ใช้งานมานานแล้ว ประโยชน์ของเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำเมื่อประยุกต์ใช้แล้วคือ ความต่างระหว่าง Ground Distance และ…
งานในด้านสำรวจเป็นงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับ Geometry บน plane เป็นส่วนใหญ่ ในบางครั้งอาจจะมีโจทย์ที่ต้องคำนวณหา จุดตัดระหว่างเส้นตรงสองเส้น หรือเส้นตรงกับวงกลม หรือวงกลมกับวงกลม โดยที่เส้นตรงอาจจะทราบค่าพิกัดหัวและท้าย หรือทราบค่าพิกัดเพียงหนึ่งจุดและค่าอะซิมัท ส่วนวงกลมนั้นจะต้องทราบค่าพิกัดจุดศูนย์กลางและรัศมี สูตรการคำนวณไม่ได้ยาก สมัยนี้โจทย์พวกนี้เราใช้โปรแกรมด้าน CAD เขียนแบบช่วยเสียเป็นส่วนใหญ่ อย่างที่ผมเคยบอกออกไปครับ ถ้าช่างสำรวจเรามีโอกาสได้ใช้สมองคิดด้าน geometry บ้างและสามารถใช้เครื่องคิดเลขเป็นตัวช่วย…
Geographic Calculator สืบเนื่องจากตอนก่อนหน้านี้ผมได้นำเสนอโปรแกรมแปลงพิกัด Geographic Calculator แบบไม่ได้ใช้ไลบรารีช่วยเรื่อง User Interface โปรแกรมมีลักษณะง่ายๆ เปิดมาเจอเมนูเลือกลักษณะที่จะคำนวณ จากนั้นโปรแกรมจะถามค่าพิกัดที่ต้องการแปลงแล้วคำนวณให้ ข้อดีคือใช้ง่าย ข้อเสียถ้าป้อนข้อมูลผิดพลาด จะย้อนกลับไม่ได้ ต้องเดินหน้าผิดไปจนจบ แล้วค่อยย้อนกลับมาอีกที เปลี่ยนรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้ด้วยไลบรารี MyLib ไลบรารี MyLib…