จากรุ่นก่อนหน้านี้ของ Surveyor Pocket Tools นั้นสามารถแปลงค่าพิกัดในระบบ The First Construction Coordinate System ได้อย่างไม่มีปัญหา แต่ความละเอียดจะถูกลดทอนลง 3-4 มม. เมื่อใช้คำนวณ The Third Construction Coordinate System & The Fourth Construction Coordinate System ปัญหาจากที่จีนไม่เปิดเผยนิยามของพื้นหลักฐาน (datum) ให้ชัดเจน
ผมปรับปรุงการคำนวณในโปรแกรมเพื่อให้ได้ความละเอียดที่เพิ่มขึ้นในระดับหลักทศนิยมของมิลลิเมตร จะเป็น Surveyor Pocket Tools รุ่น v1.30 build 759 นะครับ แต่การนำโปรแกรมนี้ไปใช้งานนั้นขอให้เป็นแค่แนวทางเอาไว้สำหรับเทียบเคียงนะครับ ตอนติดตั้งโปรแกรมควรจะอ่าน disclaimer ไว้ด้วย การคำนวณการแปลงพิกัดสำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีนนี้ต้องใช้โปรแกรมของผู้ออกแบบหรือเจ้าของงานกำหนดให้เท่านั้น
เท่าที่รับรู้ข่าวในแวดวงการสำรวจบ้านเรา จะมีการนำเส้นโครงแผนที่ความผิดเพี้ยนต่ำ (Low Distortion Projection : LDP) มาประยุกต์ใช้ในอนาคตอันใกล้นี้ นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง คุณประโยชน์ในด้านการก่อสร้างจะมีมากมาย ลดความผิดพลาดที่เกิดจากต้องใช้สเกลแฟคเตอร์ได้ งานก่อสร้างจะสะดวก ช่างสำรวจ/ช่างก่อสร้างสามารถใช้เทปดึงระยะกันได้โดยไม่ต้องพะวงกับสเกลแฟคเตอร์ การทำงานจะเหมือนกับการทำงานบน plane survey ที่เรียบง่ายอย่างนั้นเลย
ทดสอบการแปลงค่าพิกัดโซนที่สาม (The Third Construction Coordinate System)
เหมือนเดิมผมจะใช้เอกสารของโครงการฯ ขั้นแรกจะทดสอบค่าพิกัดในโซน WGS-TM (The Third Construction Coordinate System)
ตั้งระบบพิกัดด้านซ้ายมือให้ Datum เป็น “Thailand – China High Speed Rail Datum” จากนั้นเลือก System เป็น “Thailand WGS-TM CML 101-48 (The Third Construction Coordinate System) ส่วน Group ให้เป็น “Projected Coordinate System” ส่วนระบบพิกัดด้านขวามือตั้งเป็น WGS 84 / UTM Zone 47 N ได้ตามรูป
แปลงค่าพิกัด CPI-40 จาก WGS-UTM => WGS-TM จาก N = 1621267.7905 E = 747759.5894
จะได้ค่าพิกัดที่ตรงกันกับในตารางคือ N = 1620766.5882 E = 446177.2932 ตรงกันที่ทศนิยมที่ 4
ต่อไปแปลงค่าพิกัดจาก WGS-TM => WGS-UTM จาก N = 1649564.5353 E = 512810.2852
จะได้ค่าพิกัด N = 1650910.9286 E = 814063.5641 ซึ่งค่าในตารางคือ N = 1650910.9285 E = 814063.8641 ค่าต่างที่ N คือต่างกัน 0.1 มม. ส่วนค่า E นั้นเท่ากัน
ทดสอบการแปลงค่าพิกัดโซนที่สี่ (The Fourth Construction Coordinate System)
ใช้เอกสารโครงการฯ ขั้นที่สองทดสอบการแปลงค่าพิกัดในโซนที่ 4 WGS-TM (The Fourth Construction System)
แปลงค่าพิกัด CPI-57 จาก WGS-TM => WGS-UTM ค่าพิกัดต้นทาง N = 1651438.8127 E = 468685.0527
ได้ค่าพิกัดปลายทาง N = 1652835.3652 E = 818332.7826 ค่าจากตารางคือ N = 1652835.3652 E = 818332.7825 โดยที่ค่า E ต่างกัน 0.1 มม.
แปลงค่าพิกัด CPI-62 จาก WGS-UTM -> WGS-TM ค่าพิกัดต้นทาง N = 1657193.5292 E = 834934.4417
ได้ค่าพิกัดปลายทาง N = 1655549.7316 E = 485333.9690 ค่าจากตารางคือ N = 1655549.7316 E = 485333.9690 ทั้งค่า N และ E เท่ากันที่ทศนิยมที่ 4
ก็อย่างที่บอกไปเมื่อตอนต้นๆบทความว่าถ้าเอกสารโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ไทย-จีนให้นิยามพื้นหลักฐาน (datum) ได้ชัดเจนก็สามารถเขียนโปรแกรมให้การคำนวณออกมาได้เท่ากัน เพราะสูตรคำนวณเหล่านี้ก็มาจากรากเหง้าเดียวกัน
โปรแกรมอัพเดทรุ่นนี้ (v1.30 build 759) สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้แล้วทั้งใน Windows และ MacOS อนาคตของ Surveyor Pocket Tools คงต้องปรับปรุงให้สามารถคำนวณตาม frame เวลา (epoch) ได้ ในส่วนไลบรารี PROJ ได้ปรับปรุงเพิ่มเติมเหล่านี้ไปล่วงหน้าแล้ว โปรดติดตามบทความตอนต่อไปครับ
ขอบคุณสำหรับบทความและการอัพเดตโปรแกรมครับ
ยินดีครับ
รบกวนสอบถามนายช่างประจวบ ว่าได้ปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมตรงไหนจากสูตรคำนวณเดิมครับ ขอบคุณครับ
สวัสดีครับ สูตรเกี่ยวกับเส้นโครงแผนที่ยังเหมือนเดิม ปรับนิยามพื้นหลักฐาน ขยายแกนหลัก (semi-major axis) ตามตัวเลขแต่ละโซน แต่ไม่ขยายแกน b ตาม เพียงแต่ใช้ค่า f (flattening) ตามค่าเดิมของ WGS84 ครับ
ขอบคุณครับ
ขอบคุนคับ ในการพัฒนาความรู้ด้านสำรวจของไทย เพื่อยกมาตรฐานให้ทัดเทียบกับต่างชาติคับ
ยินดีครับ
Origin Latitude 0°-00′
False Northing 0 m.
Central Meridian 100°-10′
False Easting 100,000 m.
รบกวนสอบถามนายช่างประจวบ มีโปรแกรมแปลงเป็น WGS84 Zone47 ไหมครับ ขอบคุณครับ
สวัสดีครับ ฟังดูเหมือนเป็น TM แต่ไม่ชัดเจนว่าค่า K0 กำหนดไว้เท่าไหร่ ไม่แน่ใจว่าจะเป็นพวก Low Distortion Projection (LDP) ไหมครับ ถ้าเป็น LDP ผมมีบทความที่แนะนำวิธีสร้าง ตลอดจนนำมาคำนวณโดยใช้ Surveyor Pocket Tools ได้ครับ ลองค้นหาดูครับ
ขอบคุณมากครับ
ด้วยความยินดีครับ
Dear K.Prajuab
My name is Naovarat krub
อาจมีเรื่องปรึกษา งาน PTT Erawan Offshore Platform Subsidence สำรวจการทรุดตัวของแท่น สงขลา อ่าวไทย โดยการรังวัด
1.GNSS Static 48 h, IGS product, ITRF2014, EGM2008
2.Trilateration 8 Stations
พรุ่งนี้จะ Site investigation krub
สวัสดีครับพี่เนาวรัตน์ (ผมสะกดชื่อถูกไหม) ยินดีครับเพียงแต่ห่วงว่าจะเกิน skill ผมไปครับ