- ช่วงเดือนธันวาคม 2009 ส่งท้ายปีต้องติดภารกิจของบริษัทฯ เข้าไปพม่าที่เมืองมะริดอยู่ 2 ครั้ง ทำให้ไม่มีเวลาเขียน blog เลย ปีนี้ 2010 คิดว่าเกือบครึ่งปีที่จะต้องไปอยู่ที่มะริดและทวาย ของประเทศพม่า ซึ่งเป็นเมืองปิดมานาน ไม่รับนักท่องเที่ยว คนที่มีโอกาสเข้าไปโดยเฉพาะคนไทย มีน้อยมาก สองเมืองนี้ตอนนี้น่าอยู่มาก เงียบ สงบ คล้ายๆกับบ้านเกิดของผมเมื่อสัก 40 ปีที่แล้ว มองไปทางไหนยังเห็นไร่นาอยู่มาก แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปก็คือความเจริญด้านวัตถุ รถยนต์ก็ยังเห็นบ้างแต่ไม่มาก รถมอเตอร์ไซค์ ก็หนาตา แต่ที่ประทับใจคือคนที่นั่นยังศรัทธาต่อศาสนาพุทธอย่างล้ำลึก
- แต่ที่เงียบกว่าคือเมืองทวายความเจริญยังน้อยกว่ามะริดมาก ภาพของขี่จักรยานยังเห็นอยู่หลากหลาย ผมมีโอกาสได้ไปนมัสการรอยพระพุทธบาททั้งสองรอยคือรอยเท้าซ้ายและขวา เป็นสิ่งที่ประทับใจมากๆ
โปรแกรม Spot Fire
- มาเข้าเรื่องโปรแกรม Spot Fire เป็นโปรแกรมเล็กๆ ที่เขียนด้วย Delphi เขียนไว้หลายปีแล้ว ถ้าเรามีจุดค่าพิกัดและระดับ (X,Y,Z) เก็บอยู่ในรูป Text file และบางทีอาจจะคั่นด้วยเครื่องหมายคอมมาหรือคั่นด้วยช่องว่างก็ตาม สามารถใช้โปรแกรม Land Desktop หรือ Terramodel เขียนขึ้นไม่ยาก แต่จะให้สวยและแยกสีตามค่าระดับนั้นยาก
- ที่เอาไปใช้บ่อยการเขียนตัวหนังสือแบบนี้จะเป็นงาน Hydrographic Survey มากกว่า ผมจำได้ว่าโปรแกรม HydroNav ของ Trimble รุ่นนั้นยังเป็น DOS อยู่ เขียนตัวหนังสือ (Text) ได้สวยงามมาก แต่ตอนหลังเป็นยุคของวินโดส์ Trimble เลยทิ้ง HydroNav หันไปซื้อ Terramodel สำหรับ windows มาจาก Spectra ถ้าจำไม่ผิด เพื่อมาแทน HydroNav
- จากรูปด้านบนจะเห็นค่าระดับเป็นลักษณะกริด จะมีค่าระดับเป็นหน่วยเมตรด้านหน้าและตัวทศนิยมเป็นตัวห้อยขนาดเล็กกว่าอยู่ด้านหลัง และส่วนใหญ่จะเอียงหมุนไปด้านซ้ายประมาณ 45 องศา เพื่อเลี่ยงตัวเลขทับกัน
- แผนที่แสดงใน Hydrographic Map ทิศทางค่าระดับ(แกน Z) จะตรงข้ามกับงานบนบก คือชี้ลงไปในน้ำเป็นบวก ขึ้นฝั่งเป็นลบ
ดาวน์โหลดโปรแกรมและติดตั้ง
- สนใจดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่นี่ http://www.4shared.com/file/190515733/31c9f3b5/SpotFireSetup.html เมื่อดาวน์โหลดแล้วำทำการติดตั้งโปรแกรมจะถูกติดตั้งอยู่ที่โฟลเดอร์ c:\program files\survey suite\spot fire และจะมีโฟลเดอร์ย่อยชื่อ examples เก็บไฟล์ตัวอย่างไว้ ซึ่งผู้ใช้สามารถลองดูได้ เมื่อเปิดโปรแกรมมาจะเห็นดังรูปด้านล่าง
- หน้าตาของโปรแกรมเรียบง่ายมี 2 แท็ปคือ File และ Options เมื่อเปิด Text file ที่เก็บจุดที่ต้องการจะแสดงที่แท็ป File ส่วนแท็ป Options จะตั้งค่าตัวเลือกเช่นขนาดตัวหนังสือ มาตราส่วน แยกสีตามแบนด์
การใช้โปรแกรม
- คลิกที่ไอคอนเปิดไฟล์ browse ไปที่ c:\program files\survey suite\spot fire\examples เปิดไฟล์ชื่อ STOCKPILE-PNEZD.csv อย่าลืมคลิก file type เป็น P,N,E,Z,D ตามรูปแบบของไฟล์ข้อมูล ดังรูปด้านล่าง
- โปรแกรมจะอ่านข้อมูลจาก Text file แล้วเติมลงในตารางกริดดังรูปด้านล่าง
ตั้งค่า Options
- คลิกที่แท็ป Options เพื่อตั้งค่า รูปด้านล่างเป็นค่าปริยาย
- จากรูปด้านบน ตรงชี้หมายเลข 1 เป็นการตั้งค่าขนาดตัวอักษร ตัวอย่างความสูงตัวอักษร 1.8 มิลลิเมตร (ตัวห้อยหรือทศนิยม ขนาด 1.2 มิลลิเมตร) ที่มาตราส่วน 1:1000 แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นมาตราส่วน 1:500 ขนาดตัวอักษรที่ปรากฎใน Model ของ Autocad จะวัดได้ 1.8/2 = 0.9 ถ้าเป็นมาตราส่วน 1:2000 จะวัดขนาดตัวอักษรได้ 2 x 1.8 = 3.6 ที่สำคัญคือเมื่อเรา วัดที่ layout จะวัดได้เท่ากับ 1.8 มม. เสมอ ไม่ว่าจะใช้อัตราส่วนเท่าไหร่
- ส่วนอื่นๆเช่นมาตราส่วน Horizontal scale, Depth Annotation layer ตั้งชื่อ layer ที่จะเก็บตัวหนังสือ, Points layer ต่อไปคือรูปแบบตัวหนังสือ Text Font ซึ่งใช้ font ของ Autocad คือ isoct.shx หรืออาจจะเป็น font อื่นๆก็นได้เช่น Romans.shx และที่กล่าวไปแล้วคือ Text height และที่สำคัญอีกตัวคือ Rotation Angle มุมที่จะหมุนกระดกตัวหนังสือจัดไว้ประมาณ 45 องศากำลังสวย ส่วน Minus Style คือลักษณะของเครื่องหมายลบ ถ้าเป็นงาน Hydrographic Survey เครื่องหมายลบจะขีดเส้นตรงสั้นๆใต้ตัวเลขความสูง และตัวเลือกตัวสุดท้ายคือ Select point every เลือกจุด 1 จุดทุกๆ 2 จุด (คำพูดง่ายๆคือเลือกจุดเว้นจุด ถ้าเลือกมา 1 จุด เว้นไปสองจุด ก็ป้อนเลข 3)
การเขียนตัวเลขค่าระดับแบบแยกสีตามความลึก
- การเขียนแยกสีอักษรตามความลึกของจุด (Color Banding) สามารถทำได้โดยการคลิกที่ Automatic color banding interval แล้วตั้งค่า Band เช่นทุกๆ 2 เมตร ดูรูปด้านล่างประกอบ ครั้งแรกเลือกมาตราส่วนเป็น 1:500 เมื่อป้อนค่า interval เสร็จ ให้คลิกที่ปุ่ม Apply
การ Pump ตัวหนังสือแสดงค่าระดับเข้า Autocad
- เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างพร้อม ก็พร้อมจะปั๊มตัวหนังสือเข้า Autocad ได้คลิกที่ Icon แล้ว confirm ดังรูปด้านล่าง
- โปรแกรม Spot Fire พยายามเปิด Autocad ให้ แล้ว pump ข้อมูลเข้าไปดังรูป
- ที่ Autocad เรา Zoom เข้าไปดูตัวอักษร
- ที่ Autocad แล้ว save เป็น Block แล้วนำไป insert เข้ากับแผนที่่ Hydrographic Map จะได้แผนที่ที่แสดงความลึกตามที่ต้องการ
- โปรแกรม Spot Fire เป็น tools ตัวเล็กๆ ที่ทีมงานผมยังใช้งานอยู่ประจำ ถึงแม้ไม่มีอะไรหวือหวา ก็ขอฝากไว้ด้วยนะครับ
ผมว่านะจะมีฟังชัน format point ด้วยนะครับ จะได้ครอบคลุม เช่น 2,1 อย่างที่
กรมอุทกศาสตร์ หรือกรมเจ้าท่า ชอบใช้ในแผนที่กัน
รับไว้พิจารณาครับผม