แนะนำโปรแกรมคำนวณความสูงจีออยด์ (Geoid Height Pro) บน EGM96 และ EGM2008 (แจกให้ใช้ฟรี)

เปลี่ยนชื่อโปรแกรม

  • สำหรับโปรแกรม Geoid Height Pro ชื่อเดิมคือ Geoid Height Calculator เนื่องจากชื่อเดิมไปพ้องกับโปรแกรมทางฝั่งอเมริกา เกรงจะมีปัญหาด้านลิขสิทธิ์ ก็ขอเปลี่ยนชื่อตามนี้ครับ

ทำไมต้องคำนวณความสูงจีออยด์

  • เป็นที่ทราบกันว่าความสูงเมื่อวัดด้วย GPS จะเป็นความสูงที่อยู่บนทรงรีของ WGS84 เรียกว่า Ellipsoidal Height แต่ในชีวิตจริงของคนเราความสูงที่เราต้องการคือความสูงที่เทียบกับระดับน้ำทะเลปานกลาง (Mean Sea Level)  โดยเฉลี่ยแล้วพื้นผิวจีออยด์จะทับกันสนิทได้กับระดับน้ำทะเลปานกลาง ดังนั้นถ้าทราบความสูงจีออยด์ในตำแหน่งนั้น เราก็สามารถคำนวณหาความสูงจาก GPS เทียบกับระดับน้ำทะเลปานกลางได้ และความสูงเมื่อเทียบกับระดับน้ำทะเลปานกลาง เรียกอีกอย่างได้ว่า Orthometric Height

geoid2_lg

geoid undulation

Geoid Height Pro

  • ตั้งแต่ปี 2008 รูปทรงของสนามแรงดึงดูดของโลก (Earth Gravitational Model)  เรียกชื่อว่า EGM2008 ได้ถูกเปิดตัวโดย NGA  (National Geospatial Intelligence Agency) และก็ได้ปรับปรุงมาหลายรุ่นแล้ว ปัจจุบัน นำมาใช้งานแทนที่ EGM96 กันมากแล้ว ผมใช้เวลาว่างๆ เขียนโปรแกรมมาคำนวณความสูงจีออยด์ จากที่เขียนเล่นๆในตอนแรก หลังๆมาเพิ่มนู่นนิดเพิ่มนี่หน่อย ก็กลายมาอย่างที่เห็น

geoid height calculator

ส่วนประกอบของโปรแกรม

  • ถ้าติดตั้งโปรแกรมจะเห็นโฟลเดอร์ย่อยชื่อ geoids จะมีไฟล์ “corrcoef” และ “egm96” สองไฟล์นี้เป็นไฟล์ ascii สำหรับคำนวณความสูงจีออยด์บนโมเดล EGM96 ส่วนอีกไฟล์ที่ขนาดใหญ่ประมาณ 150 MB เป็นไฟล์ไบนารี ชื่อไฟล์ “Und_min2.5×2.5_egm2008_WGS84_TideFree_reformatted” สำหรับคำนวณความสูงจีออยด์บน EGM2008 ในที่นี้จะขอเน้นเฉพาะ EGM2008
  • ไฟล์ “Und_min2.5×2.5_egm2008_WGS84_TideFree_reformatted” ไม่ใช่ไฟล์ต้นฉบับ แต่เป็นไฟล์ที่ถูกรีฟอร์แม็ต เปลี่ยนรูปใหม่สำหรับโปรแกรมเปิดโค๊ด Geotrans ในไฟล์นี้บรรจุความสูงจีออยด์ทุกๆที่ของโลกนี้ ลักษณะไฟล์เป็นกริด แต่ละกริดมีขนาด 2.5’x2.5′ หรือประมาณ 4.5 กม. x 4.5 กม.
  • ถ้าใช้โปรแกรมจำพวก Hex editor มาเปิดปรับโหมดเป็น Big Endian ปรับให้ดูเป็นเลขฐานสิบจะเห็น ตัวเลข 4321 (ไบต์ที่ 5-8) และตัวเลข 8640 (ไบต์ที่ 9-12) ตัวเลขนี้แสดงขนาดของกริด= 4321×8640 จำนวนคอลัมน์(แกน x หรือตามแกนของ longitude) คือ 8640 จำนวนแถว (แกน y หรือตามแกนของ latitude) คือ 4321und_geoid_file_hex
  • ปรับโปรแกรมให้ดูเป็นเลขฐาน 16 ถัดไปไบต์ที่ 13-20 ขนาด 8 ไบต์เป็นขนาด double แสดงระยะห่างระหว่างจุดของกริดในแนวแกน x อ่านมาได้ 3fa55555 55555555 แปลงเป็นตัวเลขได้ 0.04166666666 หน่วยเป็นองศา คูณด้วย 60 เข้าไปเป็น ลิปดาก็ได้ 2.5′ (ตรงกับที่ระบุไว้ตั้งแต่แรกว่าขนาดของแต่ละกริด 2.5’x2.5′)und_geoid_file_hex_griddist
  • ถัดไปไบต์ที่ 21-28 เป็นระยะห่างระหว่างจุดของกริดในแนวแกน y ซึ่งก็เท่ากัน
  • ต่อไปทุกๆ 4 ไบต์จะเป็นตัวเลขลักษณะเป็น float แสดงความสูงของจีออยด์ลักษณะเป็นจุดๆ จนครบทั้งหมด 4321×8640 จุด

und_geoid_file_hex_float

  • โปรแกรมของผมก็จะอ่านไฟล์นี้ในลักษณะนี้มาทั้งหมดมาเก็บเป็น array เรียกว่า Cahce All ซึ่งโปรแกรมจะกินเมมโมรีพอสมควรประมาณ 500 MB ซึ่งเครื่องพีซีหรือโน๊ตบุ๊คสมัยปัจจุบัน คงไม่ใช่เรื่องเหลือบ่ากว่าแรง

ดาวน์โหลดและติดตั้ง

  • โปรแกรมเขียนด้วย FPC/Lazarus ทำไฟล์ติดตั้งด้วย Inno Setup ดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่ “ดาวน์โหลด (Download)” ด้านขวามีทั้ง 32 บิตและ 64 บิต
  • ทำการติดตั้ง ผมทดสอบติดตั้งบนวินโดส์ 7/8 รันแล้วไม่มีปัญหา เมื่อเปิดโปรแกรมจะเห็นหน้าตาแรกเข้าดังรูปด้านล่าง ลักษณะ user inteface ก็เน้นเรียบง่าย มีอยู่หน้าเดียว เลือกโมเดลได้ว่าจะใช้ EGM96 หรือ EGM2008 2.5’x2.5′ ถัดไปจะเป็นช่องให้ป้อนพิกัด Latitude/Longitude ในระบบพิกัด WGS84 ถ้ามีความสูงที่ได้จาก GPS หรือรังวัดจาก GPS ก็ป้อนที่ Ellipsoidal Height ได้
  • เมื่อป้อน latitude/longitude แล้วก็คลิก “Compute” โปรแกรมจะคำนวณนำไปเขียนให้ที่ช่าง Geoid Height หรือถ้าป้อนความสูง Ellipsoidal Heigtht  มาด้วยโปรแกรมจะทำการคำนวณ Orthometric Height มาให้ด้วย

geoidheight-first

  • ถัดลงมาด้านซ้ายเป็นตารางกริด จะถูกใช้เมื่อเปิดไฟล์ที่เก็บค่า Latitude/Longitude หลายๆจุด ในกรณีที่ต้องการคำนวณเยอะๆ ส่วนด้านขวาที่ประกอบด้วยแผนที่โลกอย่างง่ายๆ มีเส้น Latitude/Longitude ในแนวตั้งแนวนอน ทุกๆ 45 องศา ส่วนที่เป็นสีๆเป็นสเปคตรัม ได้จากการอ่านไฟล์ที่ผมกล่าวไปแล้วแล้วนำความสูงจีออยด์มาแมพกับสี โดยที่ด้านสีน้ำเงินเข้มแทนความสูงจีออยด์ -107 เมตร จะไปถึงโทนสีแดงเข้มแทนความสูงจีออยด์ที่มากสุด 87 เมตร
  • ด้านล่างเขียนสเกลมีตัวเลขกำกับให้ดูง่ายด้วย ใต้แผนที่โลกจีออยด์จะมีทูลส์บาร์เล็กๆ สำหรับการซูมเข้าออก การเลื่อนแผนที่ให้ใช้งานได้สะดวกด้วย
  • การเลื่อนเมาส์ โปรแกรมจะทำการคำนวณค่าความสุงจีออยด์ให้แบบเรียลไทม์ แสดงค่าพิกัดและความสูงจีออยด์ที่ status bar ด้านล่างด้านขวา

วิธีใช้งาน

  • มุม latitude/longitude สามารถป้อนได้สามแบบ แบบแรกเป็นดีกรีเช่น 12.2325215 แบบที่สองทศนิยมที่ลิปดาเช่น 12 35.25322 และแบบสุดท้ายคือแบบแยก 12 40 21.4512 ใส่เครื่องหมายลบได้กรณี latitude อยู่ต่ำกว่าเส้นศูนย์สูตร
  • ช่วงของ latitude ที่คำนวณได้อยู่ในช่วง -90…90 ส่วน longitude ป้อนค่าได้ตั้งแต่ -180..180
  • มาทดสอบกันเลย ผมลองป้อนค่าเข้าดังรูปด้านล่าง คลิกคำนวณจะได้ผลลัพธ์และ เขียนกากบาทให้ที่แผนที่โลกด้วย ตรงตำแหน่งพิกัดที่ป้อนไป ลองซูมแผนที่โลกมาดู

geoidheight-manualinput

การคำนวณผ่านไฟล์ coordinates

  • เมื่อติดตั้งโปรแกรมแล้วจะมีโฟลเดอร์ย่อยชื่อ “data” ผมจะเก็บไฟล์ coordinates ของ latitude/longitude เอาไว้ทดสอบ ไฟล์เหล่านี้สามารถเป็นตัวคั่นด้วยคอมมาได้ (csv) หรือกั้นด้วยช่องว่างได้ คลิกที่ทุลส์บาร์ด้านเปิด ทำการเปิดไฟล์ชื่อ NE2000.csv มีจุด coordinates ทั้งหมด 2000 จุด ได้จาก randomsample_data
  • ต่อไปโปรแกรมจะถามรูปแบบ ไฟล์นี้เก็บค่า lattitude/longitude เท่านั้น เลือกแบบ “N E” จากนั้นคลิก import

seelct_format

  • เปิดไฟล์มาแล้วจะเห็นค่าพิกัด 2000 จุดถูกเขียนลงที่ตาราง จากนั้นก็คลิกคำนวณจะได้ผลลัพธ์แบบนี้ ส่วนปุ่มลูกศรเลื่อนไปซ้ายขวา จะใช้งานได้ เมื่อเลื่อนไปมาจุดที่เป็นจุดปัจจุบันจะถูกพล็อทลงแผนที่โลกเป็นรูปกากบาท

geoidheight-openneทดสอบกับไฟล์ 3000 จุด แบบมีความสูง

  • ลองเปิดไฟล์ PNEZ3000.csv ไฟล์นี้มีความสูง Ellipsoidal Height ติดมาด้วย แต่เหมือนเดิมคือค่าความสูงได้จากการ random

format_pnez

  • ทำการคำนวณ เนื่องจากไฟล์นี้มีความสูง Ellipsoidal Height มาด้วยโปรแกรมจะคำนวณหา Orthometric Height มาให้ด้วยเช่นกัน geoidheight-pnez
  • ถ้าต้องการเซฟไฟล์ที่คำนวณแล้วสามารถคลิกที่ทูลส์บาร์ด้านบนรูปดิสเก็ตได้

ที่มาไฟล์ทดสอบ

  • ไฟล์ทดสอบชื่อ GeoidHeights.dat (credits Charles F. F. Karney ผู้พัฒนา GeographicLib) ผมดาวน์โหลดมาเป็นไว้อ้างอิง ไม่เปิดไฟล์นี้มาคำนวณนะครับ ในไฟล์ประกอบด้วยค่าพิกัด latitude/longitude ความสูงจีออยด์บน EGM84 EGM96 EGM2008 ตามลำดับ จำนวนจุดทั้งหมด 500, 000 จุด ค่าพิกัดได้จากการ random ผมนำไฟล์นี้มาตัดแบ่งเพื่อนำมาคำนวณด้วยโปรแกรมของผม เพื่อทดสอบว่าค่าความสุงจีออยด์ที่คำนวณมาได้ตรงกันไหม ค่าที่ได้จะแตกต่างกันระดับเศษของมิลลิเมตร

geoidheights-testdata

การคำนวณ Interpolation และเครดิต

  • ใช้แบบ Bi cubic interpolation ส่วนในแผนที่ในโปรแกรมเวลาผู้ใช้ลากเมาส์ ความสูงจีออยด์ที่คำนวณแบบเรียลไทม์ ใช้แบบ Bi linear interpolation
  • ก็ขอยกเครดิตให้กับโปรแกรมเปิดโค๊ด Geotrans ผมศึกษาและเรียบเรียงการคำนวณ EGM2008 จากโค๊ดภาษา c/c++ ได้ ที่นี่
  • ยกเครดิตคำนวณความสูงจีออยด์บน EGM96 ผมศึกษาและเรียบเรียงจากโค๊ดภาษา c ได้ ที่นี่ (credits ineiev) ซึ่งเจ้าของโค๊ดเขาเรียบเรียงจากภาษาฟอร์แทรนของ NGA แต่สำหรับผมก็ไปศึกษาฟอร์แทรนจากโค๊ดของ NGA เหมือนกันแต่ไม่สำเร็จ ทั้งๆตอนปี 2 อยู่มหาวิทยาลัยก็ร่ำเรียนภาษานี้จากเครื่องเมนเฟรมมาเหมือนกัน ผ่านไปหลายสิบปี กลายเป็นคนแปลกหน้า

ทิ้งท้าย

  • เนื่องจากโปรแกรมยังเป็นรุ่นแรกๆ คาดว่าบั๊กคงจะมีพอสมควร การ zoom in หรือ zoom out ใช้เวลา 4-5 วินาที โปรแกรมใช้เวลาในการเขียนแผนที่โลก ที่ใช้เวลามาก เนื่องจากไม่ได้ใช้เอนจิ้นแผนที่่ใดๆมาช่วยเลย เขียนบน canvas แบบดิบๆ
  • ก็ขอฝากโปรแกรม Geoid Height Pro ประดับวงการสำรวจไว้อีกโปรแกรมหนึ่งครับ

1 thought on “แนะนำโปรแกรมคำนวณความสูงจีออยด์ (Geoid Height Pro) บน EGM96 และ EGM2008 (แจกให้ใช้ฟรี)”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *