- สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ในโอกาสที่บ.เคเอ็นเอส เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด มีอายุใกล้จะขวบปีแล้ว ผมในฐานะวัยแล้วเกือบจะรุ่นพ่อของน้องๆชุดนี้แล้ว เห็นความตั้งใจของน้องๆ และก็ยินดีเป็นอย่างยิ่ง ในโอกาสนี้ด้วยความที่สนิทสนมกันก็ถูกลากมาให้เขียนบทความให้เพื่อฉลองครบรอบหนึ่งปี และลงที่นี่ ไม่ใช่ที่บล็อก priabroy.com ที่ประจำ ตอนแรกคิดๆอยู่ว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี แต่สุดท้ายก็จะเขียนเรื่องโปรแกรมมิ่งเครื่องคิดเลข เพราะว่าเครื่องคิดเลขเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่สุดสำหรับช่างสำรวจ ช่างโยธาของเรา
- บทความนี้คงจะมีหลายตอนก็มาติดตามกัน
ย้อนอดึตแห่งความทรงจำ
- เครื่องคิดเลข Casio นับว่าเป็นขวัญใจของเราช่างสำรวจ ช่างโยธา ตอนเรียนอยู่วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย บางคนอาจจะมีประสบการณ์ในการพาเครื่องไปฝากไว้ที่โรงจำนำเพราะกลัวทำหาย ^-^ ตอนสมัยเรียนช่วงปี 30-33 ผมใช้ FX3800 ปัจจุบันเลิกผลิตไปนานแล้ว เหลือไว้แต่ความทรงจำ สมัยแต่ก่อนเขียนโปรแกรมลงเครื่องพวกนี้คงได้แค่โปรแกรมเล็กๆ เพราะเครื่องมื memory ที่จำกัดจำเขี่ยมากๆ
- ต่อมาทำงานได้สักสองปีก็ไปถอยเอาเครื่องในตำนาน FX-880P ได้มาเครื่องหนึ่ง รุ่นนี้ปัจจุบันขึ้นหิ้งเป็นตำนานไปแล้ว ทั้งที่ผ่านระยะเวลามายี่สิบกว่าปี ยังมีคนตามล่าหากัน รุ่นนี้เวลาพกพาก็เสียบไว้ที่กระเป๋าหลังของกางเกงยีนส์ ดูมันเท่ห์ แต่พกแบบนี้ บางคนเผลอนั่งทับจนเครื่องคิดเลขหักเป็นท่อน น้ำตาตกกันมาแล้วก็มี โปรแกรมมิ่งรุ่นนี้ใช้โปรแกรมภาษาเบสิคแบบมีหมายเลขบรรทัดกำกับ เปิดโลกโปรแกรมมิ่งไปอีกหลายระดับ เขียนโปรแกรมยากๆได้พอสมควร การตั้งตัวแปรใช้ตัวอักษรหลายตัวได้ เครื่องเดิมๆ มี memory 32 กิโลไบต์ มันเยอะพอสมควร
- ด้านหลังเครื่องรุ่นนี้ยังมีช่องให้ใส่แรมเพิ่มได้อีก 32 กิโลไบต์ ผมอุตส่าห์ไปเดินแถวสะพานเหล็ก คลองถมจนได้มาหนึ่งอัน เมื่อใส่แล้วก็รวมกันได้ 64 กิโลไบต์ คิดเป็น 65536 ไบต์ เหลือเฟือ ขนาดเขียนวงรอบเล่นๆ ยังไม่เต็มเลย
- มาดูโปรแกรมสำหรับเครื่องคิดเลข FX-880P เพื่อรำลึกความหลัง ผมเขียนโปรแกรมนี้หาจุดตัดระหว่างเส้นตรงกับเส้นตรง เส้นตรงกับวงกลม วงกลมกับวงกลม ผมลงมาให้เต็มๆแบบไม่มีตัดทอน ตอนนี้ผมไม่มีเครื่องคิดเลขรุ่นนี้ให้ลองแล้ว
5 ‘Intersection
10 CLS:BEEP:BEEP1:ANGLE 0:SET F5:PRINT CHR$(9);:CLS
20 PRINT ” ***Find Intersection point***”
30 CLS:PRINT “<<1:AZI#AZI>> <<2:AZI#DIST>>”;:PRINT
40 PRINT”<<3:DIST#DIST>> <>”;
50 T$=INKEY$
60 IF (T$=”1″) THEN 150
70 IF (T$=”2″) THEN 600
80 IF (T$=”3″) THEN 800
90 IF (T$=”4″) THEN 400
100 IF (T$=”Q”) THEN PRINT TAB(10);”<<>>”;
:SET F9:END
110 GOTO 50
150 CLS:PRINT “N1=”;N1;:INPUT N1
160 PRINT “E1=”;E1;:INPUT E1
170 PRINT “AZIMUTH1=”;AZI1;:INPUT AZI1
180 FANG=AZI1:GOSUB 3000:DAZI1=DANG
190 PRINT “N2=”;N2;:INPUT N2
200 PRINT “E2=”;E2;:INPUT E2
210 PRINT “AZIMUTH2=”;AZI2;:INPUT AZI2
220 FANG=AZI2:GOSUB 3000:DAZI2=DANG
230 DELTY=N2-N1:DELTX=E2-E1
240 GOSUB 3500:AZI12=Y:DIST12=X
250 NI=(TAN(DAZI2)*N2-TAN(DAZI1)*N1+E1-E2)/(TAN(DAZI2)-
TAN(DAZI1))
260 EI=(NI-N1)*TAN(DAZI1)+E1
290 PRINT “NI= “;NI;:PRINT
300 PRINT “EI= “;EI
310 GOTO 30
400 ‘Four points
410 CLS:PRINT “N1= “;N1;:INPUT N1
420 PRINT “E1= “;E1;:INPUT E1
430 PRINT “N2= “;N2;:INPUT N2
440 PRINT “E2= “;E2;:INPUT E2
450 PRINT “N3= “;N3;:INPUT N3
460 PRINT “E3= “;E3;:INPUT E3
470 PRINT “N4= “;N4;:INPUT N4
480 PRINT “E4= “;E4;:INPUT E4
490 DELTY=N2-N1:DELTX=E2-E1:GOSUB 3500:AZI12=Y:DIST12=X
500 DELTY=N4-N3:DELTX=E4-E3:GOSUB 3500:AZI34=Y:DIST34=X
510 DELTY=N3-N1:DELTX=E3-E1:GOSUB 3500:AZI=Y
512 IF (AZI12=90 OR AZI12=270) THEN NI=N1 ELSE 515
513 EI=(NI-N3)*TAN(AZI34)+E3
515 IF (AZI34=90 OR AZI34=270) THEN NI=N3 ELSE 520
520 IF NOT((AZI12=90 OR AZI12=270) OR (AZI34=90 OR
AZI34=270)) THEN NI=(TAN(AZI34)*N3-TAN(AZI12)*N1+E1-
E3)/(TAN(AZI34)-TAN(AZI12)) ELSE 540
530 EI=(NI-N1)*TAN(AZI12)+E1
540 PRINT “NI= “;NI;:PRINT
550 PRINT “EI= “;EI
560 GOTO 30
600 ‘AZI # DIST
610 CLS:PRINT “N1= “;N1;:INPUT N1
620 PRINT “E1= “;E1;:INPUT E1
630 PRINT “AZIMUTH= “;INAZI;:INPUT INAZI:FANG=INAZI:GOSUB
3000:DAZI1=DANG
635 CANG=0:PAZI=DAZI1:GOSUB 4500:DAZI2=NAZI
640 PRINT “N2= “;N2;:INPUT N2
645 PRINT “E2= “;E2;:INPUT E2
650 PRINT “DIST= “;DIST;:INPUT DIST
660 DELTY=N2-N1:DELTX=E2-E1:GOSUB 3500:DIST12=X:AZI12=Y
670 PHI1=AZI12-DAZI1:IF PHI1 675 PHI2=AZI12-DAZI2:IF PHI2 Int No.1
900 CANG=ANG2:PAZI=AZI12:GOSUB 4500:AZI2I2=NAZI
910 PNI=N2+DIST2*COS(AZI2I1)
920 PEI=E2+DIST2*SIN(AZI2I1)
930 MNI=N2+DIST2*COS(AZI2I2)
940 MEI=E2+DIST2*SIN(AZI2I2)
950 CLS:BEEP:PRINT “NI(1)= “;PNI;:PRINT
960 PRINT “EI(1)= “;PEI
970 CLS:PRINT “NI(2)= “;MNI;:PRINT
980 PRINT “EI(2)= “;MEI
990 GOTO 30
3000 ‘Convert input angle to degree
3010 DD=FIX(FANG)
3020 TEMP=FRAC(FANG)*100
3030 MM=FIX(TEMP)
3040 SS=FRAC(TEMP)*100
3050 DANG=DEG(DD,MM,SS)
3060 RETURN
3500 ‘Find Azimuth
3510 X=POL(DELTY,DELTX)
3520 IF Y180 THEN 4550 ELSE 4530
4530 TEMP=TEMP+180
4540 GOTO 4590
4550 IF TEMP>540 THEN 4580
4560 TEMP=TEMP-180
4570 GOTO 4590
4580 TEMP=TEMP-540
4590 NAZI=TEMP
4600 RETURN
ถึงยามต้องพรากจากกัน
- ผ่านไปหลายปีสำหรับการทำงานในภาคสนาม ไปไหนมาไหนก็หอบเครื่องคิดเลขรุ่นนี้ไปใช้งาน ก่อนจะจากกันผมทิ้งเครื่องคิดเลขไว้ที่ตู้คอนเทนเนอร์หน้าไซต์งาน เพราะลูกน้องเอาไปใช้บ้าง ไม่ได้เอากลับที่พักตอนยามค่ำคืน คืนนั้นไฟฟ้าลัดวงจรที่ตู้คอนเทนเนอร์ ทราบข่าวอีกทีก็วอดแล้ว ยืนคอตกไปพักใหญ่ๆ เพราะว่าทรัพย์สินทางปัญญาหายวับไปกับพระเพลิง แต่ด้วยความไม่ประมาท ผมลอก Source code ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไว้บ้างแต่ไม่ทั้งหมด
- ถึงแม้จะรู้ว่าใดๆในโลกนี้ล้วนอนิจจัง แต่ประสบการณ์เรื่องนี้ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ผมจะแบ็คอัพข้อมูลที่ทำงานได้สอง สามที่เสมอ และที่สำคัญคือผมชอบโปรแกรมมิ่ง จะเก็บ source code ไว้อย่างดี เก็บไว้หลายๆที่เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามต้องขยัน back up ครับ ถ้ามันพังในวันนี้ยังเอาของเมื่อวานมาใช้งานได้
สิบปีที่เครื่องคิดเลขห่างหาย
- ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาผมก็ไม่เคยซื้อเครื่องคิดเลขอีกเลยประมาณสิบปี เพราะว่าเป็นยุคเวลาของโน๊ตบุ๊ค เอะอะจะคำนวณอะไรๆก็ต้องที่โน๊ตบุ๊ค แต่ชีวิตเหมือนขาดอะไรไป จนมาถึงยุคมือถือจอสัมผัสยิ่งแล้วไปกันใหญ่ เพราะมีโปรแกรมจำลองเครื่องคิดเลขมาให้ใช้งาน วันนั้นไปเดินห้างเห็นเครื่องคิดเลข FX 5800P วางอยู่ที่ชั้นขายของ ป้ายบอกลดราคาเหลือ 1990 บาท จากราคาเดิม 2890 บาทคิดอยู่ในใจว่ามันลดราคากระหน่ำแท้ๆ ราคานี้ไม่รวมสายลิ๊งค์ ดูสเป็คบอกว่าเขียนโปรแกรมได้ มีเม็มโมรีมาให้ 28500 ไบต์ ผมนึกถึง Fx-880P ทันที ตัดสินใจซื้อมาลอง ที่ไหนได้มาถึงบ้านเปิดดูในเน็ตเห็นราคาขายออนไลน์ราคา 1790 บาทได้สายลิ๊งค์ด้วย มันถูกว่ากว่าที่ผมซื้อหลายร้อยบาท เอาละวะ ภูมิใจที่ได้ใช้ของแพงกว่า
FX 5800P กับอารมณ์กระชากใจเหมือนกลับไปเรียน (Back to old school) อีกครั้ง
- เอาละครับ ได้ใช้เครื่องคิดเลขจริงๆสักที คือหลายสิบปีที่ผ่านมาเหมือนรออะไรบางอย่าง แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร เจออีกทีใช่เลย เวลากดคีย์เครื่องคิดเลขมันมีการตอบสนองได้อารมณ์เหมือนได้กลับไปใช้และเรียนมหาวิทยาลัยอีกครั้ง ผมเริ่มอ่านคู่มือเพื่อจะเขียนโปรแกรม ใช้เวลาไม่มากนักเพราะคุ้นๆอยู่ คู่มืออะไรก็หาง่ายในยุคนี้ ดาวน์โหลดมาอ่านได้สบายๆ
- ช่วงเริ่มต้นกับเครื่องคิดเลข ผมเริ่มโปรแกรมง่ายๆก่อนเช่นจำพวก Cogo เช่นหามุม ระยะทางเมื่อกำหนดค่าพิกัดของจุดสามจุด ความรู้สึกแรกคือชอบเครื่องคิดเลขรุ่นนี้พอสมควร
- เคยคิดเล่นๆว่าเครื่องคิดเลขพวกนี้ ยกเว้น FX-880P ที่เทพไปแล้ว จะสามารถเขียนโปรแกรมระดับ Advance ได้ไหมเช่นแปลงพิกัดไปมาระหว่าง UTM และ ค่าพิกัดภุมิศาตร์ (Geographic) หาระยะทางระหว่างสองจุดบน Ellipsoid หรือหาระยะทาง Geodesic distance
ข้อจำกัดด้านโปรแกรมมิ่งแต่ฟ้าปิดกั้นดินไม่ได้
- จั่วหัวให้เว่อร์ซะยังงั้น ปัญหาจริงๆที่คนจะเขียนโปรแกรมพวกนี้คืออย่างแรกคือสูตร ไม่รู้จะใช้เวอร์ชั่นไหนดี อย่างที่สองคือเครื่องคิดเลขรุ่นพวกนี้มีตัวแปรจำกัด จาก A ถึง Z นับได้ 26 ตัว น้อยซะจริงๆ ถ้าสูตรมีการใช้ตัวแปรมากกว่านี้จะทำอย่างไร ปัญหานี้ยังมีทางออก เครื่องคิดเลขรุ่นนี้เตรียมตัวแปรอนุกรมให้คือ Z เราสามารถใช้งาน Z[1],Z[2],Z[3],…. ได้มากเท่าที่เมมโมรีเครื่องคิดเลขยังเหลือพอ
- ข้อจำกัดอีกอย่างคือไม่สามารถนำไฟล์ข้อมูลให้โปรแกรมได้ ดังนั้นโปรแกรมเครื่องคิดเลขจึงจะต้องไม่ซับซ้อนมาก ถ้ามากกว่านี้ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จะดีที่สุด
โปรแกรมแปลงพิกัดจากค่าพิกัดภูมิศาสตร์ ไปยัง ค่าพิกัดระบบพิกัดฉาก UTM
- ก่อนจะไปต่อเรื่องโปรแกรมมิ่ง มาเรียกน้ำย่อยกันก่อน มาดูรูปการคำนวนกันก่อน ต้องการแปลงค่าพิกัด lat=14°27’44.71″ long=100°58’27.02″ ไปยังค่าพิกัด UTM
- แปลงพิกัดเป็น UTM ได้ค่า N=1599784.382 E=712796.211
- และคำนวน zone ของ UTM มาให้ด้วยจุดพิกัดนี้อยู่ในโซน 47
แปลงพิกัดบน WGS84
- สำหรับโปรแกรมจะแปลงพิกัดบนพื้นฐาน WGS84 เท่านั้น ไม่มีการแปลงข้ามพื้นหลักฐานเพราะมันจะซับซ้อนยุ่งยากเกินกว่าเครื่องคิดเลข เมมโมรีน้อยๆจะทำได้
โปรแกรมคำนวณ
- ข้อจำกัดอีกอย่างของเครื่องคิดเลขรุ่นนี้คือสามาถใช้สายลิ๊งค์โอนโปรแกรมจากเครื่องไปหาเครื่องอื่นเท่านั้น แต่ถ้าโอนโปรแกรมเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ผมพยายามหาในเน็ตตามฟอรั่ม มีคนพยายามจะแกะโปรโตคอลแต่ไม่น่าจะสำเร็จ ที่นี้จะเอาโปรแกรมมาแสดงบนคอมพิวเตอร์ได้ยังไง ก็ต้องนั่งแกะโปรแกรมทีละเม็ด เขียนด้วยเวิร์ดเพราะต้องการสัญลักษณ์ให้ตรงกับที่แสดงในเครื่องคิดเลขมากที่สุด สัญลักษณ์ส่วนใหญ่หาได้ในฟอนต์ Symbol, Wingdings
- เมื่อแกะเสร็จแล้วก็ดูทวนอีกทีว่าพิมพ์ได้ตรงกับในเครื่องคิดเลขไหม ไม่มีอะไรตกหล่นก็ export มาเป็นภาพเอามาแปะ ผมพยายามแยกสีให้ดูง่ายตรงไหนเป็นฟังก์ชันใช้สีแดงเข้ม ตัวแปรสีน้ำเงิน เงื่อนไขโปรแกรมใช้สีเขียว ลองดูครับ
- สำหรับเครื่องคิดเลขแล้ว ก็ไม่ถือว่าโปรแกรมใหญ่มากนัก แต่สังเกตดูตัวแปร ตั้งแต่ตัว A ถึงตัว Z ใช้แทบหมด ผมคงไม่อธิบายตัวโปรแกรมนะครบ จะยืดเยื้อ สำหรับคนที่เคยเขียนโปรแกรมเครื่องคิดเลขคาสิโอ้รุ่นเหล่านี้ มองแป๊ปเดียวก็โอเคแล้ว
วิธีใช้งาน
- วิธีใช้งานก็ง่ายครับตามสไตล์เครื่องคิดเลข กดเรียกโปรแกรมก่อน Shift+Prog ที่เครื่องคิดเลขผมเลือก “GEO2UTM“
ตัวอย่างที่ 1
- โปรแกรมจะถามค่าพิกัดแลตติจูดและค่าลองจิจูด ตัวอย่างการใช้นี้กำหนดให้ latitude = 26°12’3.6128″N longitude = 50°36’25.1928″E ที่เครื่องคิดเลขกดคีย์ “EXE” โปรแกรมจะถามค่าแลตติจูด ป้อนไปให้ทศนิยมครบ ตามรูปแรก (เครื่องคิดเลขเวลาแสดงค่าพิกัดที่เราป้อนไปแล้ว จะแสดงแค่ทศนิยมสองตำแหน่ง) และป้อนค่าลองจิจูดให้ตามรูปถัดไป
ผลลัพธ์การคำนวณ
- โปรแกรมจะคำนวณค่าพิกัดฉาก UTM ให้พร้อมบอกหมายเลขโซนของยูทีเอ็มมาด้วยและบอกว่าเป็นโซนด้านเหนือหรือด้านใต้ของเส้นศูนย์สูตร ในที่นี้จุดค่าพิกัดนี้แถวประเทศบาเรนห์ โซน 39N (เหนือ)
- เทียบกับค่าที่คำนวณด้วยโปรแกรม Surveyor Pocket Tools ตรงกันครับ หมายเหตุนิดหนึ่งว่าการคำนวณการแปลงพิกัดในโปรแกรม Surveyor Pocket Tools ใช้ไลบรารีของ Proj4 ผ่านทาง pyproj
ตัวอย่างที่ 2
- มาลองดูกัน ถ้าผู้อ่านเกิดจับพลัดจับผลูไปทำงานต่างประเทศที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ก็ยังสามารถใช้ได้ กำหนด แลตติจูด = 16d9’7.048″S ลองจิจูด = 33d33’49.779″E ค่าพิกัดอยู่ที่ประเทศโมซัมบิค ทวีปอาฟริกา
- ป้อนค่าพิกัดเข้าดังนี้ ค่าแลตติจูดอยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรให้ติดเครื่องหมายลบข้างหน้า ส่วนค่าพิกัดลองจิจูดก็ป้อนปกติ
- ผลลัพธ์การแปลงพิกัดได้ดังนี้ จุดอยู่ที่โซน 36S ใต้เส้นศูนย์สูตร
- เปรียบเทียบผลการคำนวณกับ Surveyor Pocket Tools ตรงกัน
- ก็พอหอมปากหอมคอครับ ตอนหน้ามาดูโปรแกรมแปลงค่าพิกัดฉากยูทีเอ็ม (UTM) ไปยังค่าพิกัดภูมิศาสตร์บ้าง ติดตามกันตอนต่อไปครับ