การคำนวณการรังวัด GPS ด้วยวิธี Online service (ตอนที่ 2)

  • ตอนที่ 1 ผมแนะนำการใช้บริการการคำนวณรังวัด GPS บนอินเทอร์เน็ต(GPS Online Service)  ของ Natural Resources Canada (NRCan) ต่อไปผมจะใช้บริการ website ของ Australia หน่วยงานที่ให้บริการเรียกว่า AUSLIG Online GPS Processing Service (AUSPOS) โดยที่ AUSLIG ย่อมาจาก Geoscience Australia, The Australian Government mapping agency
  • ผมจะใช้ข้อมูลเดียวกัน (Rinex file) ส่งไปให้ website ของ AusPos คำนวณแล้วมาเปรียบเทียบค่ากับของ Canada (NRCan) ว่าค่าที่ได้มีความแตกต่างกันเพียงใด

AUSPOS – Online GPS Processing Service

  • ข้อมูลรังวัด GPS ที่ทาง AUSPOS อ้างว่าถ้ารังวัดประมาณ 24 ชั่วโมง ค่าพิกัดทางราบจะมีความถูกต้องดีกว่า 1 เซนติเมตร(น้อยกว่า 1 ซม.)  ค่าระดับจะถูกต้องประมาณ 1-2 เซนติเมตร แต่มีข้อแม้ว่าความถูกต้องขนาดนี้ หมุด GPS ที่เราทำการรังวัดต้องห่างหมุดโครงข่าย GPS ของ THE INTERNATIONAL GPS SERVICE (IGS) ประมาณ 1000 กม.
  • เดิมทีหมุดโครงข่าย GPS ของ AUSPOS มีเพียง 15 หมุดครอบคลุมทวีปออสเตรเลียและแอนตาร์กติก ซึ่งจำกัดการให้บริการสำหรับ Surveyor ของออสเตรเลียเท่านั้น ตอนหลัง AUSPOS ได้เข้าร่วมกับหมุดโครงข่ายของ IGS ทำให้รวมๆกันมีหมุด 200 หมุดทั่วโลก ทำให้ไม่ว่าอยู่ภูมิภาคใดของโลกก็สามารถเข้ามาใช้บริการได้ แต่สังเกตว่าย่านบ้านเราคือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีหมุดของ IGS น้อยมาก
IGS Network
ภาพแสดงหมุดโครงข่าย IGS Network
  • เมื่อเราส่งข้อมูลการรังวัดเป็นไฟล์ Rinex ไปให้ AUSPOS จะใช้โปรแกรม MicroCosm (ชอง Van Martin Systems, Inc.) ในการคำนวณโดยใช้ข้อมูลวงโคจร GPS ของ IGS เช่น Precise satellite orbit, Earth Orientation parameters และก็ใช้ค่าพิกัดหมุดโครงข่าย GPS ของ IGS ที่อยู่ใกล้หมุด GPS ของเราจำนวน 3 หมุด
  • ข้อสังเกตถ้าเป็นการคำนวณของ NRCan ที่ผมกล่าวไปในตอนที่ 1 จะไม่ใช้ค่าพิกัดชองหมุด GPS โครงข่ายใดๆเลยมาช่วยคำนวณ ซึ่งน่าทึ่งมาก และใช้ Algorithms “Precise Point Positioning” อย่างเดียว เพียงแต่ข้อมูลที่นำมาใช้เหมือนกันคือ ข้อมูลวงโคจร GPS ของ IGS ทาง NRCan เรียกการคำนวณนี้ว่า Un-differenced carrier phase observations ส่วนของ AUSPOS เรียกว่า Double-difference carrier phase observations

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • เตรียมไฟล์ข้อมูลรังวัด GPS ในรุปแบบ Rinex ในตอนที่ 1 ผมกล่าวถึงไฟล์ไบนารีของ GPS ที่ผมใช้รังวัดคือ Trimble 5700 ซึ่งก่อนการ log ข้อมูลการรังวัดจะป้อนค่าความสูงของจานรับสัญญาณ (Antenna) และชนิดของจานรับสัญญาณ  เมื่อแปลงเป็น .Dat และก็แปลงเป็น Rinex ด้วยโปรแกรม teqc ความสูงของ Antenna จะติดมาด้วย เมื่อส่งข้อมูลเข้า website NRCan ความสูงจะถูกตรวจสอบได้อัตโนมัติ แต่ถ้าตอนรังวัดป้อนตัวเลขผิด ค่าระดับที่ได้จากการคำนวณจาก NRCan ก็จะผิดตามต้องทำการทอนความสูงใหม่ให้ถูกต้อง
  • แต่ของ AUSPOS จะให้ป้อนความสูงใหม่เมื่อตอนส่งข้อมูล Rinex ไปให้พร้อมระบุชนิดของ Antenna ซึ่งข้อดีถ้าป้อนความสูงขณะรังวัดผิดก็แก้ใหม่ได้เลย แต่ข้อเสียก็ไม่มีอะไรมากก็แค่เสียเวลาป้อนเพิ่มเท่านั้น
  • ถ้าสงสัยว่า Antenna ของเรารุ่นไหนเข้าไปตรวจสอบได้ที่ http://www.ngs.noaa.gov/ANTCAL/ ตัวอย่างเช่นผมใช้ของ Trimble เมื่อเลือกรุ่นที่ใช้จะเห็นดังรูปข้างล่าง
จานรับสํญญาณ Trimble Zephyr Geodetic
จานรับสํญญาณ Trimble Zephyr Geodetic

การใช้บริการ GPS Online Service ของ AUSPOS

เลือกไฟล์ Rinex, ป้อนรุ่น Antenna , ความสูง และ email address
เลือกไฟล์ Rinex, ป้อนรุ่น Antenna , ความสูง และ email address
  • คลิกที่ submit จากนั้น website จะแจ้งให้ทราบว่า upload ไฟล์ไปสำเร็จหรือไม่
AUSPOS แจ้งสถานะการ upload
AUSPOS แจ้งสถานะการ upload

ภาพแสดงการ Upload ไฟล์ได้สำเร็จ

  • จากรูปด้านบนรอประมาณ 24 นาที website ก็ส่งผลการคำนวณมาทาง Email address ของเรา เป็นไฟล์ pdf ดาวน์โหลดมาดูตรวจสอบได้
ภาพแสดงหมุด GPS ที่ทำการรังวัด
ภาพแสดงหมุด GPS ที่ทำการรังวัด
  • จากรูปด้านบน จะเห็นหมุดโครงข่าย GPS ของ IGS ที่ AUSPOS เลือกมาเป็น Base Station หมุด kunm อยู่ที่คุณหมิง จีน ระยะทางประมาณ 1300 กม. หมุด iisc อินเดีย ระยะทางประมาณ 2200 กม. และหมุด ntus ที่สิงคโปร์ ระยะทาง 1560 กม.
ผลลัพธ์ที่เป็นค่าพิกัดหมุด 2462
ผลลัพธ์ที่เป็นค่าพิกัดหมุด 2762
  • ความจริง website ที่ให้บริการ GPS Online Service ไม่ได้มีเพียง 2 site ตามที่ผมแนะนำไปในตอนที่ 1 เช่นของ NOAA (National Oceanic And Atmospheric Administration) ที่  http://www.ngs.noaa.gov/OPUS/ ค่าพิกัดที่คำนวณได้จาก website นี้ค่อนข้างกระโดดจากกลุ่มไปมาก เลยยังไม่ขอแนะนำ
  • ที่น่าสนใจมากๆก็คือของ NASA โปรแกรมที่ให้บริการดั้งเดิมเป็นที่รู้จักกันมากคือ Auto-GIPSY ตอนนีุ้ถูกแทนที่ด้วย APPS (Automatic Precise Position Service) ดูตามชื่อแล้วโปรแกรมน่าจะถูกปรับปรุงให้ใช้ Algorithms “Precise Point Positioning”  ถ้าจะใช้บริการไปที่ http://apps.gdgps.net/ ผมจะไม่กล่าวถึงในรายละเอียดเพราะแต่ละ website  ที่ให้บริการแบบนี้จะคล้ายๆกัน
  • ผมขอเสนอผลลัพธ์การคำนวณที่ได้จาก NRCan จากตอนที่ 1, AUSPOS ที่กล่าวไปข้างต้น, จากของ NOAA และของ NASA (JPL) ค่าพิกัดทางราบและทางดิ่งของผลการคำนวณจะใกล้เคียงกันมาก ยกเว้นของ NOAA จะแสดงให้เห็นดังตารางข้างล่าง


Website ผู้ให้บริการ
Northing (N)
Easting (E)
Ortho Height (m.)
Natural Resorces Canada (NRCan) 1579064.181 398040.484 5.475
AUSLIG Online GPS Processing Service (AUSPOS) 1579064.178 398040.484 5.530
National Oceanic And Atmospheric Administration (NOAA)
1579062.003 398839.367 14.072
Jet Propulsion Laboratory (JPL / NASA) 1579064.211 398840.497 5.819
  • จากตารางผมสรุปได้ว่า ค่าพิกัดทางราบและทางดิ่ง ทั้ง 3 website (ยกเว้น NOAA) ให้ค่าพิกัดที่น่าพอใจมากเกาะกลุ่มกันทั้งค่าพิกัดทางราบ (N,E) และค่าพิกัดทางดิ่ง (ค่าระดับ ที่เป็น Orthometric Height (MSL)) จะบอกว่าใครถูกต้องที่สุดคงไม่ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความชอบมากกว่า

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *