แนะนำการใช้งาน Global Mapper สุดยอด Tools ด้าน GIS

  • เขียนถึง Global Mappler หลายครั้งแล้ว ย้อนรอยกลับมาตั้งต้นอีกครั้งสำหรับคนที่สนใจ tool ตัวนี้ ผมจะรีวิวให้เห็นความสามารถ ข้อดีและข้อด้อยเท่าที่ผมใช้งานมา
  • Global Mapper เดิมทีผู้พัฒนาโปรแกรมวางตัวโปรแกรมให้เป็น Utility ในตอนนี้โปรแกรมได้พัฒนามาไกลเกินกว่าจะเป็นแค่ utility ธรรมดา ถ้าจะมองเป็น utility ก็น่าจะเป็น Power utility ที่ผมชอบตั้งแต่แรกใช้ Global Mapper ก็ตรงที่สนับสนุน format ข้อมูล Vector และ Raster & Elevation data ได้หลากหลายมาก
  • มาดูว่า Global Mapper สนับสนุนฟอร์แม็ตอะไรบ้าง

ข้อมูลเชิงเส้น(Vector Data)

  • Arc Ungenerate format
  • AutoCAD DXF format
  • CDF format
  • CSV format
  • Delft3D (LDB) format
  • DeLorme Text/Drawing format
  • DGN format
  • DWG format
  • ESRI Shapefile format
  • Garmin PCX5 TRK and WPT formats
  • GeoPDF format
  • GPX (GPS eXchange Format)
  • KML/KMZ (Google Earth) formats
  • InRoads ASCII format
  • Landmark Graphics format
  • Lidar LAS format
  • Lowrance LCM format
  • Lowrance USR format
  • MapGen format
  • MapInfo MIF/MID format
  • MapInfo TAB/MAP format
  • MatLab format
  • MOSS format
  • NIMA ASC format
  • Platte River ASCII Digitizer format
  • PLS CADD XYZ Grid format
  • Polish MP (cGPSMapper) format
  • SEGP1 format
  • Simple ASCII Text format
  • Surfer BLN format
  • SVG (Scalable Vector Graphic) format
  • TomTom OV2 (point database) format
  • Tsunami OVR format
  • UKOOA P/190 format
  • USGS DLG-O format
  • WAsP .MAP format
  • ZMap Plus XYSegId format

ข้อมูลเชิงภาพ(Raster Data)

  • BIL/BIP/BSQ formats
  • BMP
  • ECW format
  • Erdas Imagine format
  • GeoPDF
  • GeoTIFF format
  • KML/KMZ raster format (including super overlay support)
  • Idrisi format
  • JPG format
  • JPG2000 format
  • NITF format
  • PNG format

Elevation Data

  • Arc ASCII Grid format
  • BIL format
  • BT (Binary Terrain) format
  • DTED format
  • DXF (3D-point, 3D-mesh, and 3D-face) formats
  • Erdas Imagine format
  • Float/Grid file format
  • Geosoft Grid format
  • GeoTIFF DEM format
  • Gravsoft Grid format
  • Idrisi format
  • Leveller Heightfield format
  • Lidar LAS format
  • MapMaker Terrain file format
  • Optimi Terrain file format
  • PGM Grayscale Grid file format
  • PLS CADD XYZ Grid file format
  • RockWorks Grid format
  • STL format
  • Surfer Grid (ASCII and binary) formats
  • Terragen Terrain file format
  • USGS DEM format
  • Vertical Mapper (MapInfo) Grid
  • VRML format
  • Vulcan3D Triangulation format
  • XYZ ASCII Grid format
  • Zmap Plus Grid format

คุณสมบัติและความสามารถของโปรแกรม

การแปลงฟอร์แมตของไฟล์ (Import & Export)

  • เป็นความสามารถที่หา tools ตัวอื่นจับยาก ไม่ว่าแปลงจาก Raster ไป Raster อีกฟอร์แม็ตเช่นจาก Geotiff => Erdas Imagine หรือจาก Mrsid => Geotiff เป็นต้น
  • แปลงจาก Vector ไป Vector ฟอร์แม็ตอื่น เช่นจาก Autocad DWG => Google Earth (KML) หรือจาก ESRI Shape file => Microstation (DGN) หรือเวลา Tracking ด้วยเครื่อง GPS ตระกูล garmin เมื่อดาวน์โหลด track จากเครื่อง ด้วย Garmin Mapsource แล้ว save เป็นฟอร์แมต GPX ก็สามารถนำมาเปิดได้ พร้อมจะแปลงเป็นฟอร์แมตอื่นเช่นแปลงเป็น KML เพื่อไปเปิดใน Google Earth หรือถ้าดาวน์โหลด track จากเครื่อง gps ด้วย Oziexplorer เซฟเป็นฟอร์แม็ต PCX5 (.trk และ .wpt) ก็สามารถมาเปิดได้ง่ายเช่นเดียวกัน
  • แปลงจาก Elevation ฟอร์แม็ตหนึ่ง ไป Elevation ฟอร์แม็ตอื่น สะดวกมากกับการแปลงฟอร์แม็ตของ DEM เช่นจาก SRTM DEM => GeoTiff DEM
  • ข้อเสียที่ผมเห็นคือไม่สนับสนุนฟอร์แม็ตของ Terramodel (.pro) หวังว่า version หน้าๆน่าจะสนับสนุน เพราะ Terramodel เป็นโปรแกรมที่สร้างเส้น contour สวยที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมา รองลงมาได้แก่ Eagle point (plug in ของ Autocad R14 ที่ไม่ทราบว่าล้มหายตายจากแล้วยัง) คนที่ใช้ Erdas Imagine โหมดสร้าง DEM (Create surface) จะเห็นว่าสนับสนุนฟอร์แมตของ Terramodel ด้วย แต่เนื่องจาก Terramodel เป็นโปรแกรมสำหรับงาน infrastructure คือรองรับพื้นที่ไม่ใหญ่มาก ผมมี point อยู่ประมาณ 1.4 ล้านจุดขึ้นรูป contour นี่นิ่งสนิทเลย เกิด error ฟ้องว่า memory ไม่พอ ไม่สามารถ export เส้น contour ออกมาเป็น DWG หรือ Shape file ได้เลย

การสร้าง DEM จาก DTM (3D Points)

  • สามารถสร้าง DEM ได้อย่างง่ายๆ จาก DTM  รายละเอียดผมเขียนถึงไปแล้ว หาอ่านได้ใน blog ของผมตอนก่อนๆ

การ Reproject

  • ในบางสถานการณ์เราอาจได้ข้อมูลที่เป็นไฟล์ใน datum และ projection เช่น UTM บนหลักฐาน Indian 1975 แต่เวลานำไปใช้ต้องการเป็น UTM บนหลักฐาน WGS84 การ reproject จึงเป็นคำตอบ ผมลองดูแล้วใช้งานไม่ยากและก็เร็วด้วย

การสร้างเส้นชั้นความสูง (Generate Contours)

  • อา …..จะพูดยังไงดี ความจริง Global Mapper วางตัวเองตามชื่อ Global น่าจะรองรับอะไรที่มันใหญ่ๆเช่น DEM ที่มีขนาดใหญ่ๆมาก แต่ DEM ไม่ใช่ปัญหา ขนาด DEM ของประเทศไทย (pixel 30m x 30m) ขนาดประมาณ 3 GB ก็ยังเอาอยู่ แต่ถ้านำมาสร้างเส้นชั้นความสูง โอกาสแป๊กสูง ผมเข้าใจว่าในทางโปรแกรมมิ่งการเก็บวัตถุเป็นเส้น (line หรือ polyline) ที่นำมาต่อกันเป็นเส้นชั้นความสูง จะใช้ memory และพื้นที่จัดเก็บมาก ยิ่งพื้นที่ที่มีความลาดชันมาก เส้น contour จะถี่ยิบ ตัวอย่างข้างต้นที่ผมกล่าวไปแล้วคือ Terramodel จะแป๊กที่จำนวนจุด 1.4 ล้านจุด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่แม่น้ำตัดผ่านภูเขาที่สูงชันมาก แต่ผมไม่แปลกใจเพราะ Terramodel ยังใช้ algorithms รุ่นเก่า แต่ที่คาดหวังกับ Global Mapper ที่สามารถสนับสนุนฟอร์แม็ต Lidar Las format น่าจะทำได้ดีกว่านี้
  • แต่โดยทั่วๆไปก็ใช้งานได้ดี ถ้าไม่เจอ case แบบที่ผมว่า contour ก็ดูดี สามารถปรับความสวยได้ แต่ต้องแลกมากับขนาดไฟล์ของ contour ที่จะใหญ่ขึ้นหน่อย

การสร้างเส้นชั้นความสูง ใช้ interval contour = 20m

การ Download ข้อมูล Online

  • แนวโน้มของโปรแกรมด้าน GIS ต้องมีฟีเจอร์นี้ สำหรับคนที่อยู่อเมริกา แคนาดา หรือยุโรป จะมีบริการให้ดาวน์โหลดภาพถ่ายดาวเทียม,  Topographic map, DEM ความละเอียดสูงฟรี แต่บ้านเราไม่มีบริการด้านนี้จึงต้องหาจาก source อื่น แต่บ้านเราเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านเช่นกัมพูชา ลาว พม่า ก็ยังดีกว่ามากเรามีแผนที่ 1:50000 ใช้ตั้งนานแล้วตอนนี้ก็มี 1:4000 ส่วนพม่า 1:50000 ยังอยู่ในช่วงผลิต บางส่วนก็ออกมาใช้งานแล้ว ส่วนกัมพูชา ลาว เท่าที่ผมทราบยังไม่มีใช้
  • งานผมบางครั้งเกี่ยวข้องกับประเทศเพื่อนบ้าน หาแผนที่มาใช้งานลำบากก็ต้องอาศัยข้อมูล Online ที่นี้แหละครับมาถูๆไถๆ เช่นภาพถ่าย Landsat 7 และ SRTM DEM (ขนาด pixel 90m x 90m)
  • ใช้ Global Mapperr จะสะดวกมากแค่มีพื้นที่ (Area) ที่ต้องการข้อมูล อาจจะ import เป็น shape file หรือ DWG เข้ามา ทำการ zoom พื้นที่แล้วสั่ง Download มาได้เลย ทั้งภาพถ่ายดาวเทียม landsat 7 และ SRTM DEM เสร็จแล้วก็ export เป็น raster และ vector ตามที่ต้องการ

globalmapper3

การ Crop และการแก้ไข DEM

  • การ crop DEM เพื่อให้ได้ขนาดเล็กและพื้นที่ตรงกับที่ต้องการ Global Mapper ก็เตรียมมาให้ เพียงแต่ถ้าจะ crop DEM ต้องอาศัยตอน export DEM ไปยังไฟล์ใหม่ นี่คือข้อเสียอย่างหนึ่งที่ไม่สะดวก น่าจะ crop ได้ตอนเปิดไฟล์มาแล้ว  ส่วนการแก้ไข DEM สามารถระบุค่าระดับต่ำสุดและสูงสุดที่ต้องการได้  หรือแทนที่ค่าระดับที่ไม่อยู่ในช่วงที่ต้องการแทนที่ด้วยค่าระดับอื่น ว่างๆ ผมจะเขียนเรื่องนี้ให้ละเอียดอีกครั้ง
globalmapper4
ตั้งค่าเพื่อเลือก DEM ที่ไม่ต้องการทิ้ง

การทำ Raster Blending

  • ในบางครั้งระหว่าง Raster จำนวน 2 ไฟล์ขึ้นไป เมื่อมาวางซ้อนกันอยู่ จะมองเห็นเฉพาะ layer ด้านบนสุดเท่านั้น ด้วยเหตุผลนี้จึงต้องทำการ blending เพื่อให้สามารถเห็นภาพทั้งสอง layer ได้ นอกจากการ blending แล้วการทำให้โปร่งแสง ก็ยังถูกนำมารวมกับการ blending

globalmapper4

  • จากรูปด้านบน ตัวเลเยอร์  DEM จะอยู่ล่างสุด เลเยอร์ด้านบนจะเป็นภาพของ landsat7 แต่ตอนนี้ถูกปิดอยู่ ถ้าเปิดปกติจะมองไม่เห็น DEM อยู่ด้านล่าง ผมเอาภาพ Landsat7 มาทำ Blending ดูผลลัพธ์จะเห็นแม่น้ำถูก blending เข้ากับ DEM จากเดิมเรามอง DEM ภาพของแม่น้ำจะไม่เห็นเด่นชัด แต่การ blending จะทำให้เห็นภาพซ้อนและเห็นได้ชัดขึ้น พร้อมจะนำไปวิเคราะห์และศึกษาต่อได้

globalmapper5

การคำนวณหา Line of sight และ Cut/Fill Volumes

  • Feature ตัวนี้ค่อนข้างหน่อมแน้ม ถ้าจะใช้เป็นเรื่องเป็นราวไปใช้โปรแกรมอื่นๆดีกว่า เช่น Terramodel, Autodesk Civil 3D หรือ Geopak บน Microstation ไปเลย แต่ถ้าจะใช้งานเพื่อเป็น guide line ก็พอได้เช่นการตัดถนนผ่านภูเขาสามารถลองเส้น profile แล้วสั่งให้แสดง profile ได้ ดูรูปด้านล่างประกอบ

globalmapper6

การวิเคราะห์ View shed

  • เป็นฟังก์ชั่นพื้นฐานสำหรับด้าน GIS เพื่อวิเคราะห์การส่งสัญญาณเช่นการตั้งเสาวิทยุสื่อสาร การตั้งเสาโทรศัพท์มือถือ ยิ่งเราสามารถตั้งได้ในที่สูงๆเช่น เนินเขา ภูเขาก็ยิ่งดี ทำให้พื้นที่ในการรับสัญญาณมากขึ้น มองด้านต้นทุนก็คือตั้งเสาส่งให้น้อยลง แต่ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น ทำให้เสียค่าต้นทุนน้อยลง feature ตัวนี้ใช้ได้ดีครับ ดูรูปด้านล่างประกอบ จะเห็นบางส่วนที่ถูก hatch ด้วยสีแดง คือพื้นที่ที่สามารถรับสัญญาณได้

globalmapper7

การแสดง 3D View

  • การ Drape ข้อมูลที่เป็น Raster หรือ Vector บน DEM ตัว Global Mapper ก็ทำได้สวยพอใช้ได้ ดูรูปด้านล่างประกอบ แต่ที่พออวดได้ก็คือในภาพสามมิติสามารถใช้เมาส์ ซูม หมุน หรือเลื่อนได้แบบ Real time แต่ถ้าไปเทียบเจ้าพ่ออย่าง Google Earth ตัว Global Mapper คงต้องหลบไปก่อน

globalmapper8

  • ส่วน feature อื่นๆเช่นการแสดงสีของน้ำเมื่อกำหนดค่าระดับให้ก็ทำได้สวยงามมาก การทำ GPS Tracking ก็ทำได้ดีทีเดียว ที่สำคัญคือเสร็จจาก tracking สามารถ export ไปฟอร์แม็ตอื่นได้ทันที
  • ส่วนข้อด้อยที่ค่อนข้างร้ายแรงคือการเลือก (selection) vector data จะไม่สามารถเลือกเป็นกลุ่มหรือหลายๆตัวได้ การเลือกด้วยเมนู Search ก็พอทำได้แต่ไม่สะดวก ตัวอย่างเช่นต้องการลบจุดที่ไม่ต้องการ 10 จุดมาคลิกเพื่อเลือกแล้วลบทั้งหมด 10 ครั้ง มันก็ไม่ใช่ จะบอกว่าถ้าต้องการ edit vector data พวกนี้ก็หันไปใช้ ArcGIS แทน มันก็ไม่ได้เช่นกันขนาดและราคา software คนละเรื่อง จึงอยากจะได้อะไรที่มันเล็กๆเร็วๆ ในความคิดผมการเพิ่ม feature เหล่านี้มันก็ไม่ได้หนักหนาอะไรในเชิงโปรแกรมมิ่ง

สรุป

  • โดยภาพรวม Global Mapper สมกับเป็น Power Tools สำหรับงาน GIS ถึงจะมีข้อด้อยไปบ้างบางจุด แต่ก็ไม่ทำให้คุณค่าของโปรแกรมด้อยลงไปแต่อย่างใด โอกาสหน้าอาจจะเอา Manifold System V.8 มารีวิว ก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ครับ

5 thoughts on “แนะนำการใช้งาน Global Mapper สุดยอด Tools ด้าน GIS”

  1. ขอบคุณครับ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
    ขอเบอร์​ติดต่อด้วยครับ

  2. ผมมีปัญหาการใช้งาน อยู่ ๆ ก็ไม่สามารถโหลดไฟล์เข้าโปรแกรมได้ ขึ้น file not found ตลอดเลยครับ

    1. สวัสดีครับ บทความนี้หลายสิบปีแล้ว ผมไม่ได้จับ Global Mapper นานมาก แต่สงสัยว่า file not found เคยเจอชื่อไฟล์ภาษาไทยครับ ลองเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาอังกฤษดูครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *